วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์

นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ชื่อเล่น: ป้าง)
เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
การศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนเทพศิรินทร์(DSA99) และปริญญาตรีสาขาการตลาด จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตครอบครัว ปัจจุบันสมรสแล้ว

ความเป็นศิลปินร็อก อดีตเป็นนักร้องนำ วงไฮดร้า(พ.ศ. 2535) ปัจจุบันเป็นศิลปินเดี่ยว
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก ร็อก อินดี้ร็อกอินดี้ป็อป ป็อปร็อก โพสต์-กรันจ์

"ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ " ได้เริ่มต้นบนถนนสายดนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกวง "ไฮดร้า" ร่วมกับ "ปอนด์ ธนา ลวสุต" โดยทั้งคู่ได้รู้จักกันขณะที่เรียนอยู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรีในงานรับน้องด้วยกัน ก่อนหน้านั้น ป้างได้เคยเป็นแฟนเพลงของ วง " ฟีดแบค " ของปอนด์และเพื่อน รร. เซ็นต์คาเบรียล ที่เคยมีผลงานออกมา 1 ชุดชื่อ ประกายเสน่หา และเนื่องจากทั้งคู่ชื่นชอบเพลงแนวเดียวกัน จึงได้กำเนิดวงไฮดร้าขึ้นมาโดยมีอัลบั้มแรกและเป็นอัลบั้มเดียวในนามไฮด ร้า นั่นคือ " อัศเจรีย์"
พ.ศ. 2537 ป้าง ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก ของตัวเอง ได้แก่ " ไข้ป้าง " พร้อมกันนี้ ป้างยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เพลงไทย บริษัท โซนี่มิวสิค(ประเทศไทย) อีกด้วย และในอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเขานี่เอง ป้างยังได้มีโอกาสนำผลงานไปแสดงในงานเทศกาลดนตรี " Tokyo Music Festival " อีกด้วย
" วันที่ 14 ตุลาคม 2538 " ได้จัดคอนเสิร์ต ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต ขึ้นที่ เอ็ม บี เค ฮอลล์ โดยป้างได้ออกมาในชุดคนไข้ โรงพยาบาลมิชชั่น เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็บของคอนเสิร์ตที่จัดขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการจัดทำ CD บันทึกส่วนไฮไลท์ของคอนเสิร์ตโดยใช้ชื่อว่า "ไฮไลท์ ไอซียู นครินทร์ กิ่งศักดิ์" ซึ่งคอนเสิร์ตนี้จัดได้ว่าเป็น คอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกของ ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์
เมื่ออายุครบ 30 ปี ใน พ.ศ. 2540 ป้าง ได้ทำอัลบั้มใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า " ฉลองครบรอบ 30 ปี " โดยนำป้ายบอกหลักกิโลเมตรบนท้องถนนมาสื่อความหมาย ถึงชีวิตคนที่เดินทางมาจนถึงหลักกิโลที่ 30 ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกอัลบั้มหนึ่ง ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟนเพลง โดยทุกเพลงในอัลบั้มยังคงเป็นเพลงฮิตมาจนถึงทุกวันนี้ พร้อมกันนี้ยังมีเพลงที่เสมือนเป็นตัวแทนของคนหัวล้านที่ฟังแล้วต้องอด อมยิ้มไม่ได้ทุกครั้งนั่นคือเพลง " หัวล้านใจน้อย " ที่ฟังเมื่อไหร่เป็นต้องรู้สึกอยากกระโดดทุกครั้ง
จากนั้นอีก 1 ปีถัดมา คือ ปี พ .ศ. 2541 ป้างได้จัดคอนเสิร์ตพิเศษขึ้นโดยใช้ชื่อว่า " ขุนช้างขอบคุณ " โดยในคอนเสิร์ตครั้งนี้ได้มีเพลงที่ป้างแต่งขึ้นมาใหม่ คือ เพลง " เพราะอะไร " เพื่อขอบคุณแฟนเพลง และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพลงนี้ก็เป็นอีกเพลงที่ได้รับความนิยมมาจนถึง ปัจจุบัน คอนเสิร์ตนี้ ป้างมีแขกรับเชิญเป็น หญิงสาวที่เป็นนางเอกมิวสิควิดีโอของป้างในชุดก่อนๆ ได้แก่ อ้อน เกวลิน ค๊อตแลนด์ เรียกเสียงกรี๊ดของแฟนๆ ได้เป็นอย่างมากเมื่อทั้งคู่ออกมาร้องเพลงคู่กันในเพลงที่ชื่อ " รัก"
อัลบั้ม " ขายหน้า " ได้ออกสู่ตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นก็ต้องตีความกันตั้งแต่ ชื่ออัลบั้มเลยทีเดียว ว่าควรจะให้ความหมายของคำว่า ขายหน้า อย่างไรกันดี คำว่าขายหน้านี้สามารถมองได้หลายมุม บางคนอาจจะตีความ คำว่าขายหน้า ว่าเป็นการทำอะไรที่ก่อให้เกิดความละอาย หรือ บางคนอาจจะตีความคำว่าขายหน้า คือการขายหน้าตา จะเห็นว่าขนาดแค่ชื่ออัลบั้มยังน่าสนใจขนาดนี้แล้ว ยิ่งพอได้ฟังเพลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้แล้ว จะรู้ว่า ผู้ชายที่ชื่อ ป้าง นครินทร์ ไม่ขายหน้าและไม่จำเป็นต้อง เอาหน้ามาขาย แน่นอน เพราะคุณภาพของเพลงทุกเพลงในอัลบั้มได้เป็นเครื่องพิสูจนด้วยตัวเองเป็น อย่างดี
นับว่าเป็นเวลากว่า 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 - 2543 ที่ป้างได้สร้างผลงานเพลงคุณภาพ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง โดยไม่ว่าใครก็ตามหากได้ยินเสียงเพลงของผู้ชายคนนี้ต้องรู้ทันที ว่าเป็น ป้าง นครินทร์ อย่างแน่นอน อัลบั้ม " รวบรวม " เป็นการรวบรวมผลงานเพลงในหลายๆ อัลบั้มของป้าง มาไว้ในอัลบั้มชุดนี้ถึง 18
หลังจากที่ได้เงียบหายไปจากวงการเพลงเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี หลังจากอัลบั้ม ขายหน้า ในวันที่ 03.09.45 ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ได้นำเสนอผลงานเพลงชุดใหม่ ภายใต้สังกัดใหม่ในเครือแกรมมี่ ได้แก่ บริษัท จีราฟเรคอร์ด โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า " หัวโบราณ " โดยหน้าปกของอัลบั้มชุดนี้ได้เลือกนำเต่ามาเป็นสัญลักษณ์ โดยมีที่มา มาจาก ไดโนเสาร์เต่าล้านปี
เมื่อเสร็จสิ้นการทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มหัวโบราณ โดยทิ้งระยะห่างประมาณ 2 ปี ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ได้นำเสนอผลงานอัลบั้มใหม่ออกสู่สายตาประชาชนอีกครั้ง ในวันที่ 28.09.47 โดยนับได้ว่าเป็นอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 5 แล้วของผู้ชายชื่อ ป้าง โดยเนื้อหาและดนตรีในอัลบั้มนี้ค่อนข้างจัดจ้าน เป็นดนตรีภาคเร็ว ฉูดฉาด ป้างจึงได้เลือกหาคำไทยที่แสดงถึงความฉูดฉาดและหวือวา โดยมาลงตัวที่คำว่า " เลี่ยมทอง
หลังจากที่เสร็จสิ้นการทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม เลี่ยมทอง ข่าวคราวของ ป้าง นครินทร์ ก็หายเงียบไปเล็กน้อย และในวันที่04.04.49 ก็ได้มีอัลบั้มพิเศษ ที่เป็นการรวบรวมเพลงของป้าง นครินทร์ ที่ผ่านมา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในอัลบั้มพิเศษนี้ประกอบไปด้วยเพลง ฮิตที่นับได้ว่าเป็นอมตะไปแล้วทั้งสิ้น 12 เพลง ที่รับประกันได้ว่าแฟนเพลงแทบทุกคนต้องเคยฟังและสามารถร้องตามได้ อยากไม่ยากเย็น เพราะแต่ละเพลงล้วนแต่เป็นเพลงที่โดนใจของแฟนเพลงแทบทั้งสิ้น พร้อมกันนี้ในส่วนของ วีซีดี คาราโอเกะที่ได้จัดทำขึ้นยังได้นำภาพมิวสิควิดีโอในอดีตมาแสดงอีกด้วย ทำให้แฟนเพลงได้ย้อนอดีตไปกับ ป้าง อีกครั้ง
หลังจากที่รอกันมานานแรม 2 ปี 8 เดือน ป้าง นครินทร์ได้กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้ม ดอกเดียว ในวันที่ 29.05.50 โดยอัลบั้มนี้เน้นดนตรีออกแนวฟังสบายแต่เข้มข้นด้วยเนื้อหา และรายละเอียดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่ใช้ในเพลง บอกได้คำเดียวว่า คุณภาพครบถ้วนทั้ง 10 เพลง แต่ละเพลงได้ผ่านการกลั่นกรองออกมาเป็นอย่างดีจากผู้ชายชื่อ ป้าง วีซีดีคาราโอเกะ วางแผงทั่วประเทศ 12.06.50 ขอแนะนำว่าไม่ควรพลาดงานชุดนี้ด้วยเหตุผลทั้งปวง
และแล้ว 2 ปีผ่านไป พี่ชายของชาวร๊อคคนนี้ก็ได้กลับมาอีกครั้งกับซิงเกิ้ลใหม่ล่าสุด 22.06.52 เพลง เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำนองและเนื้อหาของเพลง ถือได้ว่า แสดงลายเซ็นสะท้อนความเป็น ป้าง ได้อย่างชัดเจน และสมบูรณ์แบบที่สุด
  • ปี 2535 ก่อตั้งวง "ไฮดร้า" และทำอัลบั้ม "อัศเจรีย์"
  • ปี 2537 ผู้จัดการ บริษัท โซนี่ มิวสิก (ประเทศไทย) จำกัด
  • ปี 2538 แสดงคอนเสิร์ตเดี่ยว "ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต" ที่ MBK Hall มาบุญครอง
  • ปี 2538 นำผลงานอัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี "Tokyo Music Festival" ที่ประเทศญี่ปุ่น
  • ปี 2540 แสดงคอนเสิร์ต "ขุนช้างตกมัน" ที่ MCC Hall เดอะมอลล์บางกะปิ
  • ปี 2546 ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับใหม่ เจริญปุระ ในคอนเสิร์ต "ป้าง-ใหม่ พี่ขอร้อง น้องขอเต้น" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ปี 2551 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "เพลงแบบประภาส" ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • ปี 2554 ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับดา เอ็นโดรฟิน ในคอนเสิร์ต "Green Concert No.14: Da & The Idol Unbreak My Heart" ที่รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
  • ปี 2556 คอนเสิร์ต “บรรลุนิติภาวะ ๒๑ ปี ป้าง.นครินทร์.กิ่งศักดิ์” คอนเสริตใหญ่ของป้างในรอบ 15 ปี จัดที่ อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก

ได้รับรางวัล

  • ปี 2535 ได้รับรางวัล "วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม" รางวัลสีสัน อะวอร์ด (ในฐานะ สมาชิกของวง "ไฮดร้า")
  • รางวัลสีสันอวอร์ดส์ครั้งที่ 17 วันที่ 17 มี.ค.2548 ศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม นครินทร์ กิ่งศักดิ์ จากอัลบั้ม เลี่ยมทอง
  • "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในรอบปีที่ผ่านมาในหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี 2547" โดย สุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจำนวน 10,183 คน ในส่วนนักร้องเพลงไทยสากลชายที่ประชาชนชอบมากที่สุด ยังคงเป็นเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ครองใจแฟนเพลงมากที่สุด ร้อยละ 37.38 อันดับถัดมาคือ ป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ 34.65%
  • Hitz 40 Awards

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

ไข้ป้าง (พ.ศ. 2537, โซนี่ มิวสิก)

  1. สบายดี
  2. ปีหน้า
  3. เอื้อมไม่ถึง
  4. คุยกับตัวเอง
  5. ประตู
  6. ที่ว่าการอำเภอ
  7. คำตอบ
  8. นานๆที
  9. วันที่เลวร้าย
  10. เลิกคอย
  11. อยากเด็ก

ฉลองครบรอบ 30 ปี (พ.ศ. 2540, โซนี่ มิวสิก)

  1. แพ้
  2. พี่ชาย
  3. หัวล้านใจน้อย
  4. เรารักกัน
  5. คนฉลาด
  6. ไม่ใช่นางฟ้า
  7. อำนาจ
  8. กม.30
  9. นามสกุล
  10. หลังบ้าน

ขายหน้า (พ.ศ. 2542, โซนี่ มิวสิก)

  1. นับหนึ่งถึงสิบ
  2. โก๋แก่
  3. ผู้ชายร้องไห้
  4. สร้างมาเพื่อเธอ
  5. หมอดู
  6. โกหก
  7. ช้าเหลือเกิน
  8. ความสุขโดยตรง
  9. เจ้าของ
  10. เสียงกระซิบ
  11. Family Man

หัวโบราณ (พ.ศ. 2545, จีราฟ เรคคอร์ดส์)

  1. เธอมีจริง
  2. แก้วตาขาร็อก
  3. อากาศ
  4. เขาหรือผม
  5. คู่ชีวิต
  6. จุดต่ำสุด
  7. ความเป็นแม่
  8. ขบวนสุดท้าย
  9. ใจเจ้าเอย
  10. ความคาดหวัง

เลี่ยมทอง (พ.ศ. 2547, จีราฟ เรคคอร์ดส์)

  • รายชื่อเพลง
  1. แมน
  2. คบไม่ได้
  3. สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดปี
  4. ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมาและมาจากท้องแม่)
  5. หนังสือรุ่น
  6. คุณเจ๋ง
  7. มากพอ
  8. ทำอะไรสักอย่าง
  9. สัตว์ร้ายในตัวฉัน
  10. คนหน้าใหม่
  • อัลบัมพิเศษ เป็นรีมิกซ์ แบบ cool กับ Hot ได้แก่
  1. อยู่ไม่สุข (Hot)
  2. สบายดี (Cool)

ดอกเดียว (พ.ศ. 2550, Genie Record)

  1. กระดกลิ้น
  2. ฉันอยู่คนเดียวได้?
  3. เพลงเก่า
  4. ซ้ำ
  5. คนมันไม่ใช่
  6. คิดอะไรอยู่
  7. ไม่มีวันลืม
  8. ดอกเดียว
  9. ทฤษฎีจ่าฝูง
  10. กำลังเดินทางอยู่

New single 2011 (พ.ศ. 2553, Genie Records)

  1. เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่
  2. ปมด้อยของฉัน
  3. เกลียดคำขอโทษ (ร้องคู่กับพั้นช์ วรกาญจน์ และประกอบภาพยนตร์เรื่อง โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต ของค่าย GTH)
  4. เจ็บปวดที่งดงาม
  5. ปอดแหก
  6. หีบเล็ก หีบใหญ่ (ประกอบละครเรื่อง ตะวันเดือด ทางช่อง 3)

มินิอัลบั้ม กลางคน (พ.ศ. 2556, Genie Records)

  1. ภูมิแพ้กรุงเทพ (Feat. ตั๊กแตน ชลดา)
  2. แค่ล้อเล่น
  3. เข็นครก "ข้าม" ภูเขา (Feat. กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่)
  4. ที่เหลือคือรักแท้
  5. countdown to zero

อัลบั้มบันทึกการแสดงสด

ไฮไลท์ ไอซียู (พ.ศ. 2538, โซนี่ มิวสิก)

  1. เหตุผล
  2. คุยกับตัวเอง
  3. เอื้อมไม่ถึง
  4. น.ส. หุ่นยนต์
  5. 30 ยังแจ๋ว
  6. ประตู
  7. สบายดี
  8. คำตอบ

ขุนช้างขอบคุณ (พ.ศ. 2541, โซนี่ มิวสิก)

  1. เพราะอะไร
  2. หัวล้านใจน้อย (Dance remix)
  3. ไม่ใช่นางฟ้า
  4. คนฉลาด
  5. รัก (คู่ เกวลิน)
  6. กลิ่น
  7. นามสกุล
  8. แพ้ (แจมกลองยาว)
  9. เอื้อมไม่ถึง (รักเรือล่ม)
  10. เรารักกัน
  11. อำนาจ
  12. หัวล้านใจน้อย

อัลบั้มรวมฮิต

รวบรวม 2535-2543 (พ.ศ. 2543, โซนี่ มิวสิก)

  1. ไม่ขอบคุณ
  2. ดึกแล้ว
  3. สูง
  4. สร้างมาเพื่อเธอ
  5. เพราะอะไร
  6. รัก
  7. คนฉลาด
  8. เหตุผล
  9. เอื้อมไม่ถึง
  10. ไกลเท่าเดิม
  11. ไว้ใจ
  12. ผู้ชายร้องไห้
  13. นับ 1-10
  14. หัวล้านใจน้อย
  15. แพ้
  16. 30 ยังแจ๋ว
  17. สบายดี
  18. ประตู

The Best Hits of ป้าง (พ.ศ. 2549, จีราฟ เรคคอร์ดส์)

  1. ทำอะไรสักอย่าง
  2. สบายดี
  3. หัวล้านใจน้อย
  4. คบไม่ได้
  5. แก้วตาขาร็อค
  6. คำตอบ
  7. เพราะอะไร
  8. เอื้อมไม่ถึง
  9. คนฉลาด
  10. ประตู
  11. แมน
  12. อากาศ
  13. พี่ชาย
  14. เธอมีจริง
  15. สร้างมาเพื่อเธอ
  16. หนังสือรุ่น

Best of ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (พ.ศ. 2554, Genie Records)

Disc 1
  1. สบายดี
  2. เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่
  3. หัวล้านใจน้อย
  4. ประตู
  5. เรารักกัน
  6. กระดกลิ้น
  7. ขบวนสุดท้าย
  8. แมน
  9. ซ้ำ
  10. ปล่อย
  11. ทำอะไรสักอย่าง
  12. สร้างมาเพื่อเธอ
  13. แก้วตาขาร็อค
  14. คิดอะไรอยู่
  15. 30 ยังแจ๋ว
Disc 2
  1. ปอดแหก
  2. เจ็บปวดที่งดงาม
  3. คนฉลาด
  4. ผู้ชายร้องไห้
  5. อากาศ
  6. เอื้อมไม่ถึง
  7. คบไม่ได้
  8. คนมันไม่ใช่
  9. เธอมีจริง
  10. ใจเจ้าเอย
  11. หนังสือรุ่น
  12. พี่ชาย
  13. ปมด้อยของฉัน
  14. คำตอบ
  15. น้อยเกินไป
  16. หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ด


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • ชีวประวัติ จาก www.eotoday.com
  • จีนี่ เรคคอร์ดส
  • หนังสือที่พี่ป้างอ่าน
  • พี่ป้างแฟนคลับ
  • เฟซบุ๊กป้าง

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เสือ ธนพล (ธนพล อินทฤทธิ์)

ธนพล อินทฤทธิ์ 
ชื่อเล่น เสือ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ 
จบการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่วงการเพลงด้วยการเป็นฝ่ายศิลป์ของบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น
ธนพล เริ่มแต่งเพลงให้กับนักร้องในค่าย เป็นเพลงแรกก็คือ เก็บตะวัน ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวของอิทธิ พลางกูร ด้วยเช่นกัน และเพลงนี้ก็ได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของอิทธิและได้รับความนิยมมาปัจจุบัน จากนั้นจึงเริ่มทำงานเบื้องหลังให้แก่ศิลปินต่าง ๆ โดยเป็นโปรดิวเซอร์ แต่งเพลง ทำนอง รวมทั้งเป็นแมวมองด้วย ศิลปินที่เข้าสู่วงการด้วยการชักชวนของธนพล ได้แก่ ไฮ-ร็อก, เอาท์ไซเดอร์, แร็พเตอร์ เป็นต้น
เสือ ธนพล เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปี พ.ศ. 2537 เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดแรกในชีวิตกับทางบริษัท ในชื่อชุด "ทีของเสือ" มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น รักคงยังไม่พอ, กระดาษห่อไฟ, ชีวิตหนี้, เรือลำหนึ่ง, 18 ฝน เป็นต้น และได้เล่นคอนเสิร์ตช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ครั้งที่ 2 ในชื่อ "เสืออำพัน" ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน ที่สนามกีฬากองทัพบก ร่วมกับ เป้ ไฮ-ร็อก และ พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร
ในปี พ.ศ. 2541 เสือ ธนพล ได้ย้ายเข้าค่ายเมกเกอร์เฮดในเครือแกรมมี่ ได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง ชื่อ "ใจดีสู้เสือ" มีเพลงที่ได้รับความนิยม คือเศษ, ใจดีสู้เสือ, ดูโง่ ๆ, มีอะไรยั่งยืน 
จากนั้น ได้คงทำงานเบื้องหลังควบคู่ไปกับการออกอัลบั้มต่อไป โดยมี จิตติพล บัวเนียม เป็นโปรดิวเซอร์ในการออกอัลบั้มเพลง และได้ขึ้นเป็นผู้บริหารค่ายมิวสิก อาร์มี่ ในเครือของแกรมมี่ อีกตำแหน่งด้วย
บทเพลงของ เสือ ธนพล จะเขียนเองโดยตลอด มักมีกลิ่นอายของเพลงเพื่อชีวิต มีภาษาและเนื้อหาเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในสังคม และมุมมองการใช้ชีวิต 

ผลงาน
1.อัลบัม ทีของเสือ พ.ศ. 2537 ค่าย อาร์เอสโปรโมชั่น
  1. รักคงยังไม่พอ
  2. กระดาษห่อไฟ
  3. ชีวิตหนี้
  4. อยากกลับบ้าน
  5. คิดมากไปหรือเปล่า
  6. เรือลำหนึ่ง
  7. เก็บไว้นานนาน
  8. 18 ฝน
  9. ยังได้อยู่
  10. ขวางโลก
  11. เพี้ยน
  12. ดอกไม้ข้างทาง
  • แถมเพลงพิเศษอีก 4 เพลง จากอัลบั้มรวมฮิต ตำนานเสือ
  1. แก้วตาดวงใจ
  2. ผงเข้าตา
  3. คดีแดง
  4. เก็บตะวัน (Live)ขับร้องร่วมกับ อิทธิ พลางกูร บนวเทีคอนเสิร์ต  
          
         2.อัลบัม ใจดีสู้เสือ พ.ศ.2541 ค่าย เมกเกอร์เฮด
  1. ใจดีสู้เสือ
  2. เศษ
  3. ดูโง่โง่
  4. แสวงหา
  5. ดาวดวงน้อย
  6. จากคนไกล
  7. ผิด
  8. ออกทะเล
  9. ค่ำคืนนี้
  10. มีอะไรยั่งยืน
  11. พรุ่งนี้ยังมาไม่ถึง
  12. แสวงหา (บรรเลง)

         3.อัลบัม คนใช้ชีวิต พ.ศ.2543 ค่าย เมกเกอร์เฮด
  1. คนใช้ชีวิต
  2. หัวใจเดียวกัน
  3. ช่างหัวมัน
  4. รักเดียวใจเดียว
  5. เสียชีพไม่เสียเธอ
  6. สมอง
  7. ฉันเอง
  8. โจ๋ฝุ่นตลบ
  9. ตัดไฟตัดใจ
  10. ทุกคนเจ็บ

        4.อัลบัม ช่องว่างในหัวใจ พ.ศ. 2546 ค่าย มิวสิคอาร์มี่
  1. ช่องว่างในหัวใจ
  2. ไม่ต้องเสียใจ
  3. สู้ชีวิต
  4. นางฟ้าข้างถนน
  5. ผมไม่เมา
  6. รู้สึกผิด
  7. คนชื่อวี
  8. ฟ้ากับเหว
  9. อย่าเอาตัวฉันไป
  10. เงา

        5. อัลบัม รักคนไทย พ.ศ. 2548 ค่าย มิวสิคอาร์มี่
  1. ร้องไห้กับฉัน
  2. ฝนซัดใจ
  3. รักคนไทย
  4. เท่าที่มี
  5. ไปเกิดใหม่
  6. เศษดาว
  7. เรียกว่ารักได้หรือเปล่า
  8. ง้อ
  9. ฉันไม่ยอม
  10. รอเธอตรงนี้
  11. สาวเอย
  12. โลกเอียง
  13. ก่อนจะถูกลืม
  14. เท่าที่มี (Backing Track บรรเลง)

         6.อัลบัม ทวีคูณ พ.ศ. 2551  ค่าย อัพ^จี
  1. ฝันสีเทา
  2. ทะเลาะ
  3. ทวีคูณ
  4. นกหลงรัง
  5. เด็ก
  6. เกมส์ชีวิต
  7. คนไม่ดี
  8. ค้นพบตัวเอง
  9. สัตว์ร้าย
  10. เสียงที่อยากฟัง

ผลงานเพลงประกอบละคร น้ำพุ  เพลงเสียคน


วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วง เฟม FAME

          เดิมชื่อว่าวงปกเชิ้ต เล่นประจำอยู่ที่ ดรันเก้นผับ ปากซอยสุขุมวิท33 (ที่เดียวกับวงไฮสกูลที่ไปเล่นดนตรี ปัจจุบันคือวงนูโว
มีสมาชิกดั้งเดิม 4 คน
  1. ไกรสร ชำนาญเวช (ปี่) กีตาร์/ร้องนำ
  2. นัยณัฏฐ์ ชนินทร์เดช (นัท) คีย์บอร์ด/ร้องนำ
  3. อนุสรณ์ ม้าแก้ว (ตั้ม) เบส
  4. ภิญโญ เจริญสถิตย์พงศ์ (หนึ่ง) กลอง
เนื่องจากนัทได้เล่นเป็นพระเอกมิวสิกวีดีโอเพลง"ใจเดียว"ให้กับวง"เรนโบว์" และทราบมาว่านัทเองก็มีวงดนตรีเช่นกัน จึงทำให้อาร์.เอส.ให้ความสนใจ และชวนมาทำอัลบั้มเพลงจากการชักนำของ ธนพล อินทฤทธิ์ และ พีระพงษ์ พลชนะ หรือ ต้อม เรนโบว์ จากนั้นจึงเพิ่มสมาชิกอีก 2 คน จากวง บอนด์สตรีท คือ
  1. สรวิทย์ บัวศรี (ต้น) คีย์บอร์ด
  2. ธนา อักษรพันธ์ (ออม) กีตาร์


สำหรับการตั้งชื่อวง พวกเขาต้องเลือกชื่อวง ซึ่งมีอยู่หลากหลาย อาทิ รีมิกซ์,อคูสติก,วินเซนท์,6คน ฯลฯ สุดท้ายก็ได้ชื่อว่าวง เฟม (FAME) โดยความหมายของคำว่า เฟม แปลว่า ชื่อเสียง
อัลบั้มชุดที่2 ไอ้ตัวยุ่ง ได้เปลี่ยนมือกลองจากหนึ่งเป็นชาลี สาลี่ (ภายหลังชาลีไปอยู่วงFLY)
ผลงาน
  • คนไม่เคย (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2532)
  • ไอ้ตัวยุ่ง (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)

คอนเสิร์ตใหญ่ที่วงเฟมไปร่วมคือ คอนเสิร์ต "ไฟ FAI" ซึ่งมี 
F=เฟม,
A=อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง 
I=อิทธิ พลางกูร ที่ลานสวป.มหาวิทยาลัยรามคำแหง ท่ามกลางผู้ชมนับหมื่น
เคยแสดงร่วมกับกับวง TUBE วงร็อกชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่นที่สวนลุมพินี แต่แสดงได้แค่ไม่กี่เพลงก็ต้องยุติการแสดงลง เนื่องจากพายุฝนมรสุมเข้ากรุงเทพฯ อันเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นเกย์เข้าถล่มประเทศไทยอย่างหนักในช่วงนั้น

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วง ดีเซมเบอร์ Dezember

 Dezember วงดนตรีร็อกเมทัล โพรเกรสซีฟเดธเมทัล ที่มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องของความตาย สงคราม การเมือง และความวิปริตของสังคม 
ประกอบด้วยสมาชิกคือ สยาม ชุมทอง (กีตาร์), ณพล เย็นแจ่ม (เบส), นรเทพ จินดามาตย์ (ร้องนำ) และรัตน์ โกบายาชิ (กลอง) ก่อตั้งวงเมื่อธันวาคมปี พ.ศ. 2536 โดยสยาม ชุมทอง (ต้น ) และ วรพจน์ สิงห์น้อย (โต้ง) มือกีตาร์และมือเบสในยุคเริ่มต้น ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นสมาชิกที่แยกออกมาจากวงแมดฮอต วงที่เข้าร่วมประกวดเป๊ปซี่มิวสิกเฟสติวอล และเป็นวงชนะเลิศของปี ส่วนสยาม ชุมทองได้รับรางวัลมือกีตาร์ยอดเยี่ยมคู่ ขณะที่เอ็ม (มือกลองในขณะนั้น) ได้รับรางวัลมือกลองยอดเยี่ยม
หลังจากที่ออกจากวงแมดฮอตแล้ว ต้นและโต้ง ได้แต่งเพลงขึ้นมาอีก 3 เพลง คือ "คนโลกแคบ" ,"อสูรกาย" และ "เดนสงคราม" ในขณะเดียวกันประภาส หล้าคำ (ภาส) ที่เป็นเพื่อนกับทางวงมีโครงการที่จะจัดงานคอนเสิร์ตขึ้นมา ภาสกับต้นปรึกษากันเรื่องการหามือกลองเพื่อแสดงในงานคอนเสิร์ต ภาสได้ชักชวนรัตน์ โกบายาชิ (รัตน์) ซึ่งในขณะนั้นเล่นดนตรีประจำอยู่ที่เมทัลโซน ที่ฮอลลีวูดสตรีต มาเล่นในคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า เพนออฟเดธ ที่เป็นคอนเสิร์ตใต้ดิน หลังจากนั้นวงได้มีผลงานออกมาบ้างและได้เปลี่ยนสมาชิกวงไปบ้าง จนเป็นสมาชิกทั้ง 4 ของวง

ผลงาน

  1. งานชุดแรก ลัทธิซาตาน(1993) สังกัด: จุติภูติ เรคคอร์ดส
  2. งานชุดสอง วินาศกรรม (1995) สังกัด: โซนี่ มิวสิก
  3. งานชุดสาม บาป (1997) สังกัด: โซนี่ มิวสิก
  4. งานชุดสี่ คลั่ง (1998) สังกัด: โซนี่ มิวสิก
  5. งานชุดที่ห้า Naturalism (2005) สังกัด: สนามหลวงการดนตรี/จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  6. งานชุดที่หก Spiritual Leader (2011) สังกัด: Distortion Group
  7. งานชุดที่เจ็ด Crisis (2013)

อ้างอิง

  1. Jump up Overtone Presents Dezember Live at Overtone prartmusic.com



วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วง เนื้อกับหนัง (Fresh And Skin)

สมาชิกวงประกอบด้วย
จุมพฏ เลขะพันธุ์ –ชื่อเล่น ปู(แม่ตั้งให้),ปุ้ก(สาธิตฯปทุมวัน),สาย (อำนวยศิลป์พระนคร)-(Chumpot)-Guitar/Vocals/Originator
ชนินท์ กัทลีนดะพันธุ์-ชื่อเล่น เจี๊ยบ –ผู้ล่วงลับเมื่อปี 2535(Chanin)-Drums/Guitar/Vocals
ชานนท์ ทองคง ชื่อเล่น-หนึ่ง-(Charnon)-Bass/Vocals
วงเนื้อกับหนัง ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการเพลงเฮฟวี่ภาคภาษาไทยวงแรก ก่อตั้งวงเมื่อปี 2522/1979  และเฮียวิฑูร วทัญญู คือผู้มีส่วนในการจุดประกาย ยุคนั้น มันยากมากที่จะให้คนฟังยอมรับ เพราะมันเป็นยุคดนตรีเฮฟวี่ฝรั่งกำลังรุ่งเรือง ส่วนเพลงไทยก็กำลังเข้าสู่ยุค อ๊อด คีรีบูน,ชมพู ฟรุตตี้ เนื้อกับหนังจึงฟังกันในวงแคบๆ
" ดนตรี HEAVY METAL แต่เดิมเริ่มแรกในเมืองไทยเราใช้คำว่า UNDERGROUND MUSIC แล้วก็ค่อยมีคำว่า HARD ROCK มาแทน จนภายหลังถึงกลับมาเรียก HEAVY METAL "

 แรกเริ่มมาจาก " จุมพฏ เลขะพันธ์ " (ปู) หรือที่กันว่า " สาย " ซึ่งเป็นมือกีต้าร์ ในตอนนั้นเขาอายุ ประมาณ 10 ขวบ เป็นเด็กที่ชอบในดนตรีเฮฟวี่ เข้าไ ปหา " คุณวิฑูร " ซึ่งเป็น ดีเจ จัดรายการวิทยุเพลงสากลในแนวเฮฟวี่ ที่สถานีวิทยุทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ขณะนั้น " จุมพฏ " ยังเรียนอยู่ที่ รร.สาธิต จากนั้นจนโตแล้วก็หายไป กลับมาอีกครั้งในตอน " จุมพฏ " อายุประมาณ 20 ปี แล้วก็บอกกับ" คุณ วิฑูร " ว่าตั้งวงดนตร ีกับเพื่อน ในแบบ เฮพวี่เนื้อร้องเป็นภาษาไทย โดยแต่งเนื้อ และทำนองเอง ร่วมกับเพือนอีก 2 คน มี ชนินท์ กัทลีนดะพันธ (กลอง) และ ชานนท์ ทองคง (เบส) คุณวิฑูร ก็ให้การสนับสนุน แล้วก็เข้าห้องอัดเสียงเล่นๆ ที่โรต้า ซึ่งเป็นห้องอัดแบบถูกๆ วันละ 1500 บาท ใช้เวลาอัดไป 10 วันก็เสร็จ ลงทุนไป 10000 กว่าบาท ก็ปล่อยออกมาชุดแรกของ เนื้อกับหนังที่มีรูปปกทลายกำแพง ชุด ฆาตกัญชา (จัดจำหน่ายโดย ออนป้า) ในประมาณปี 2527 และ มีเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ที่มีคนมากมายรู้จัก

หลังจากนั้นก็ปล่อยอัลบั้มออกมา อย่างต่อเนื่อง " ท่านคือ....ผู้ยิ่งใหญ่ (~2528) "(จัดจำหน่ายโดย โรต้า) , " อตฺต หิ อตฺโน นาโถ " (~2529) (จัดจำหน่ายโดย อาร์เอสซาวด์) , " ฟ้าประกาศิต " (~2532) (จัดจำหน่ายโดย อามีโก้) เป็นอัลบั้มรวมเพลง มีเพิ่มเพลงใหม่ 2 เพลง คือ เพลงฟ้าประกาศิต และ น้ำท่วม-น้ำใจ ส่วนงานคอนเสิร์ตก็มีเล่นบ้างตามงาน ที่สนามหลวงและงานอื่นๆ หลังจากนั้นก็เงียบไปนาน

จนประมาณ ปี 2536 ก็ออกอัลบั้มเต็มชุดที่ 4 " มโน สาเร่ " ออกในสังกัด ท็อปไลน์มิวสิค (จัดจำหน่ายโดย ไดมอนด์ซาวด์) หลังจากนั้นก็ถึงจุดจบของวง เมื่อสมาชิกคนหนึ่งต้องเสียชีวิตไป คือมือกลอง และร้องนำ " ชนินท์ " ทำให้ทางวงต้องเงียบหายไปทิ้งไว้เฉพาะผลงาน 4 อัลบั้มเต็ม, 2 อัลบั้มรวมเพลง และ 3 อัลบั้มเพลงบรรเลง กีต้าร์(มีเพิ่มเพลงร้อง เป็นเพลงดังใน เวอร์ชั่นใหม่ ในแต่ละอัลบั้มเพลงบรรเลง) ซึ่งทั้งหมดเป็นงานในแบบ อันเดอร์กราวด์ โดยแท้ ในการลงทุนทำเองแทบทั้งหมด และแทบไม่มีสื่อใดๆในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ มากมายนัก

หลังจากนั้นในปีเดียวกัน (2536) ทางสังกัด Top Teen Talent ของคุณวิฑูร ได้ปล่อยอัลบั้มทุกชุด (ยกเว้นชุดที่ 4) ออกมาอีกครั้งจัดจำหน่ายโดย อามิโก้ (โดยบางอัลบั้มได้มีการเปลี่ยนปก แต่ก็ใกล้เคียงปกเดิม) และหวังว่าสมาชิกที่เหลือ และคุณวิฑูร ยังไม่ละทิ้งอุดมการณ์ และกลับมาอีกครั้ง สำหรับวง Heavy Hard Hot ภาคภาษาไทย วงแรกของประเทศสยาม

วงดนตรีที่สมาชิกวงเคยร่วมงาน:

จุมพฏ เลขะพันธ - Guitar, Vocals:

- (ช่วงประมาณปี 2524 - 2526) วง NAON ( นาอ้อน ) มีสมาชิก
โป่ง ปฐมพงษ์ ( ร้องนำ ), พิทักษ์ ศรีสังข์ (เบส) , จุมพต เลขะพันธ์ (กีตาร์) และ มือกลอง ไม่แน่ใจว่าเป็นพี่ชายของ พิทักษ์ ศรีสังข์ ที่ ชื่อ เทพ หรือเปล่า?

วงนี้เคยไปเล่นในงานดนตรีที่คุณ วิฑูร วทัญญู จัดขึ้นที่โรงหนังเอเธนส์ ทุกเช้าวันอาทิตย์ ในสมัยนั้น เล่นในสไตล์เฮฟวี่

ชานนท์ ทองคง - Bass, Vocals :

- (ช่วงประมาณปี 2532 - 2535) วงของ เทียรี่ เมฆวัฒนา เล่นเป็นแบ็คอัพในงานเดี่ยวของเทียรี่
- เคยถูกทาบทามให้ไปร่วมวง Hi-Rock สมัยก่อนออกเทปชุดแรก ตอนนั้น ชานนท์ เล่นอยู่คอกเทลเลานจ์แถมพระราม 9 เงินดีพอสมควร จึงไม่ได้ไปเล่นด้วย อีกอย่างอาจเพราะวัยต่างกันนิดๆเลยไม่ไปก็เป็นได้

ชนินท์ กัทลีนดะพันธุ์ - Drums, Guitar, Vocals:

- (ข้อมูลจากปกเทปวง Silly Fools ชุดแรกที่ออกกับ Bakery) เข้าใจว่ามีสายสัมพันธ์กันกับวงพอสมควร ถึงมีการกล่าวไว้ในปกเทปเช่นนั้น บางทีวง Silly Fools อาจได้รับการสอนมาจากมือกลอง เนื้อกับหนัง ก็เป็นได้