วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์

นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ชื่อเล่น: ป้าง)
เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
การศึกษา จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนเทพศิรินทร์(DSA99) และปริญญาตรีสาขาการตลาด จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตครอบครัว ปัจจุบันสมรสแล้ว

ความเป็นศิลปินร็อก อดีตเป็นนักร้องนำ วงไฮดร้า(พ.ศ. 2535) ปัจจุบันเป็นศิลปินเดี่ยว
แนวเพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก ร็อก อินดี้ร็อกอินดี้ป็อป ป็อปร็อก โพสต์-กรันจ์

"ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ " ได้เริ่มต้นบนถนนสายดนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกวง "ไฮดร้า" ร่วมกับ "ปอนด์ ธนา ลวสุต" โดยทั้งคู่ได้รู้จักกันขณะที่เรียนอยู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้มีโอกาสร่วมเล่นดนตรีในงานรับน้องด้วยกัน ก่อนหน้านั้น ป้างได้เคยเป็นแฟนเพลงของ วง " ฟีดแบค " ของปอนด์และเพื่อน รร. เซ็นต์คาเบรียล ที่เคยมีผลงานออกมา 1 ชุดชื่อ ประกายเสน่หา และเนื่องจากทั้งคู่ชื่นชอบเพลงแนวเดียวกัน จึงได้กำเนิดวงไฮดร้าขึ้นมาโดยมีอัลบั้มแรกและเป็นอัลบั้มเดียวในนามไฮด ร้า นั่นคือ " อัศเจรีย์"
พ.ศ. 2537 ป้าง ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก ของตัวเอง ได้แก่ " ไข้ป้าง " พร้อมกันนี้ ป้างยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เพลงไทย บริษัท โซนี่มิวสิค(ประเทศไทย) อีกด้วย และในอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเขานี่เอง ป้างยังได้มีโอกาสนำผลงานไปแสดงในงานเทศกาลดนตรี " Tokyo Music Festival " อีกด้วย
" วันที่ 14 ตุลาคม 2538 " ได้จัดคอนเสิร์ต ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต ขึ้นที่ เอ็ม บี เค ฮอลล์ โดยป้างได้ออกมาในชุดคนไข้ โรงพยาบาลมิชชั่น เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็บของคอนเสิร์ตที่จัดขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการจัดทำ CD บันทึกส่วนไฮไลท์ของคอนเสิร์ตโดยใช้ชื่อว่า "ไฮไลท์ ไอซียู นครินทร์ กิ่งศักดิ์" ซึ่งคอนเสิร์ตนี้จัดได้ว่าเป็น คอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกของ ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์
เมื่ออายุครบ 30 ปี ใน พ.ศ. 2540 ป้าง ได้ทำอัลบั้มใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า " ฉลองครบรอบ 30 ปี " โดยนำป้ายบอกหลักกิโลเมตรบนท้องถนนมาสื่อความหมาย ถึงชีวิตคนที่เดินทางมาจนถึงหลักกิโลที่ 30 ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกอัลบั้มหนึ่ง ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากแฟนเพลง โดยทุกเพลงในอัลบั้มยังคงเป็นเพลงฮิตมาจนถึงทุกวันนี้ พร้อมกันนี้ยังมีเพลงที่เสมือนเป็นตัวแทนของคนหัวล้านที่ฟังแล้วต้องอด อมยิ้มไม่ได้ทุกครั้งนั่นคือเพลง " หัวล้านใจน้อย " ที่ฟังเมื่อไหร่เป็นต้องรู้สึกอยากกระโดดทุกครั้ง
จากนั้นอีก 1 ปีถัดมา คือ ปี พ .ศ. 2541 ป้างได้จัดคอนเสิร์ตพิเศษขึ้นโดยใช้ชื่อว่า " ขุนช้างขอบคุณ " โดยในคอนเสิร์ตครั้งนี้ได้มีเพลงที่ป้างแต่งขึ้นมาใหม่ คือ เพลง " เพราะอะไร " เพื่อขอบคุณแฟนเพลง และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพลงนี้ก็เป็นอีกเพลงที่ได้รับความนิยมมาจนถึง ปัจจุบัน คอนเสิร์ตนี้ ป้างมีแขกรับเชิญเป็น หญิงสาวที่เป็นนางเอกมิวสิควิดีโอของป้างในชุดก่อนๆ ได้แก่ อ้อน เกวลิน ค๊อตแลนด์ เรียกเสียงกรี๊ดของแฟนๆ ได้เป็นอย่างมากเมื่อทั้งคู่ออกมาร้องเพลงคู่กันในเพลงที่ชื่อ " รัก"
อัลบั้ม " ขายหน้า " ได้ออกสู่ตลาดเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยเริ่มต้นก็ต้องตีความกันตั้งแต่ ชื่ออัลบั้มเลยทีเดียว ว่าควรจะให้ความหมายของคำว่า ขายหน้า อย่างไรกันดี คำว่าขายหน้านี้สามารถมองได้หลายมุม บางคนอาจจะตีความ คำว่าขายหน้า ว่าเป็นการทำอะไรที่ก่อให้เกิดความละอาย หรือ บางคนอาจจะตีความคำว่าขายหน้า คือการขายหน้าตา จะเห็นว่าขนาดแค่ชื่ออัลบั้มยังน่าสนใจขนาดนี้แล้ว ยิ่งพอได้ฟังเพลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้แล้ว จะรู้ว่า ผู้ชายที่ชื่อ ป้าง นครินทร์ ไม่ขายหน้าและไม่จำเป็นต้อง เอาหน้ามาขาย แน่นอน เพราะคุณภาพของเพลงทุกเพลงในอัลบั้มได้เป็นเครื่องพิสูจนด้วยตัวเองเป็น อย่างดี
นับว่าเป็นเวลากว่า 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 - 2543 ที่ป้างได้สร้างผลงานเพลงคุณภาพ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง โดยไม่ว่าใครก็ตามหากได้ยินเสียงเพลงของผู้ชายคนนี้ต้องรู้ทันที ว่าเป็น ป้าง นครินทร์ อย่างแน่นอน อัลบั้ม " รวบรวม " เป็นการรวบรวมผลงานเพลงในหลายๆ อัลบั้มของป้าง มาไว้ในอัลบั้มชุดนี้ถึง 18
หลังจากที่ได้เงียบหายไปจากวงการเพลงเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี หลังจากอัลบั้ม ขายหน้า ในวันที่ 03.09.45 ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ได้นำเสนอผลงานเพลงชุดใหม่ ภายใต้สังกัดใหม่ในเครือแกรมมี่ ได้แก่ บริษัท จีราฟเรคอร์ด โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า " หัวโบราณ " โดยหน้าปกของอัลบั้มชุดนี้ได้เลือกนำเต่ามาเป็นสัญลักษณ์ โดยมีที่มา มาจาก ไดโนเสาร์เต่าล้านปี
เมื่อเสร็จสิ้นการทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มหัวโบราณ โดยทิ้งระยะห่างประมาณ 2 ปี ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ได้นำเสนอผลงานอัลบั้มใหม่ออกสู่สายตาประชาชนอีกครั้ง ในวันที่ 28.09.47 โดยนับได้ว่าเป็นอัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 5 แล้วของผู้ชายชื่อ ป้าง โดยเนื้อหาและดนตรีในอัลบั้มนี้ค่อนข้างจัดจ้าน เป็นดนตรีภาคเร็ว ฉูดฉาด ป้างจึงได้เลือกหาคำไทยที่แสดงถึงความฉูดฉาดและหวือวา โดยมาลงตัวที่คำว่า " เลี่ยมทอง
หลังจากที่เสร็จสิ้นการทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม เลี่ยมทอง ข่าวคราวของ ป้าง นครินทร์ ก็หายเงียบไปเล็กน้อย และในวันที่04.04.49 ก็ได้มีอัลบั้มพิเศษ ที่เป็นการรวบรวมเพลงของป้าง นครินทร์ ที่ผ่านมา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในอัลบั้มพิเศษนี้ประกอบไปด้วยเพลง ฮิตที่นับได้ว่าเป็นอมตะไปแล้วทั้งสิ้น 12 เพลง ที่รับประกันได้ว่าแฟนเพลงแทบทุกคนต้องเคยฟังและสามารถร้องตามได้ อยากไม่ยากเย็น เพราะแต่ละเพลงล้วนแต่เป็นเพลงที่โดนใจของแฟนเพลงแทบทั้งสิ้น พร้อมกันนี้ในส่วนของ วีซีดี คาราโอเกะที่ได้จัดทำขึ้นยังได้นำภาพมิวสิควิดีโอในอดีตมาแสดงอีกด้วย ทำให้แฟนเพลงได้ย้อนอดีตไปกับ ป้าง อีกครั้ง
หลังจากที่รอกันมานานแรม 2 ปี 8 เดือน ป้าง นครินทร์ได้กลับมาอีกครั้งกับอัลบั้ม ดอกเดียว ในวันที่ 29.05.50 โดยอัลบั้มนี้เน้นดนตรีออกแนวฟังสบายแต่เข้มข้นด้วยเนื้อหา และรายละเอียดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่ใช้ในเพลง บอกได้คำเดียวว่า คุณภาพครบถ้วนทั้ง 10 เพลง แต่ละเพลงได้ผ่านการกลั่นกรองออกมาเป็นอย่างดีจากผู้ชายชื่อ ป้าง วีซีดีคาราโอเกะ วางแผงทั่วประเทศ 12.06.50 ขอแนะนำว่าไม่ควรพลาดงานชุดนี้ด้วยเหตุผลทั้งปวง
และแล้ว 2 ปีผ่านไป พี่ชายของชาวร๊อคคนนี้ก็ได้กลับมาอีกครั้งกับซิงเกิ้ลใหม่ล่าสุด 22.06.52 เพลง เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำนองและเนื้อหาของเพลง ถือได้ว่า แสดงลายเซ็นสะท้อนความเป็น ป้าง ได้อย่างชัดเจน และสมบูรณ์แบบที่สุด
  • ปี 2535 ก่อตั้งวง "ไฮดร้า" และทำอัลบั้ม "อัศเจรีย์"
  • ปี 2537 ผู้จัดการ บริษัท โซนี่ มิวสิก (ประเทศไทย) จำกัด
  • ปี 2538 แสดงคอนเสิร์ตเดี่ยว "ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต" ที่ MBK Hall มาบุญครอง
  • ปี 2538 นำผลงานอัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรี "Tokyo Music Festival" ที่ประเทศญี่ปุ่น
  • ปี 2540 แสดงคอนเสิร์ต "ขุนช้างตกมัน" ที่ MCC Hall เดอะมอลล์บางกะปิ
  • ปี 2546 ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับใหม่ เจริญปุระ ในคอนเสิร์ต "ป้าง-ใหม่ พี่ขอร้อง น้องขอเต้น" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • ปี 2551 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "เพลงแบบประภาส" ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • ปี 2554 ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับดา เอ็นโดรฟิน ในคอนเสิร์ต "Green Concert No.14: Da & The Idol Unbreak My Heart" ที่รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
  • ปี 2556 คอนเสิร์ต “บรรลุนิติภาวะ ๒๑ ปี ป้าง.นครินทร์.กิ่งศักดิ์” คอนเสริตใหญ่ของป้างในรอบ 15 ปี จัดที่ อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก

ได้รับรางวัล

  • ปี 2535 ได้รับรางวัล "วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม" รางวัลสีสัน อะวอร์ด (ในฐานะ สมาชิกของวง "ไฮดร้า")
  • รางวัลสีสันอวอร์ดส์ครั้งที่ 17 วันที่ 17 มี.ค.2548 ศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม นครินทร์ กิ่งศักดิ์ จากอัลบั้ม เลี่ยมทอง
  • "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รายงานผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในรอบปีที่ผ่านมาในหัวข้อ "ที่สุดแห่งปี 2547" โดย สุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศจำนวน 10,183 คน ในส่วนนักร้องเพลงไทยสากลชายที่ประชาชนชอบมากที่สุด ยังคงเป็นเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ครองใจแฟนเพลงมากที่สุด ร้อยละ 37.38 อันดับถัดมาคือ ป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ 34.65%
  • Hitz 40 Awards

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

ไข้ป้าง (พ.ศ. 2537, โซนี่ มิวสิก)

  1. สบายดี
  2. ปีหน้า
  3. เอื้อมไม่ถึง
  4. คุยกับตัวเอง
  5. ประตู
  6. ที่ว่าการอำเภอ
  7. คำตอบ
  8. นานๆที
  9. วันที่เลวร้าย
  10. เลิกคอย
  11. อยากเด็ก

ฉลองครบรอบ 30 ปี (พ.ศ. 2540, โซนี่ มิวสิก)

  1. แพ้
  2. พี่ชาย
  3. หัวล้านใจน้อย
  4. เรารักกัน
  5. คนฉลาด
  6. ไม่ใช่นางฟ้า
  7. อำนาจ
  8. กม.30
  9. นามสกุล
  10. หลังบ้าน

ขายหน้า (พ.ศ. 2542, โซนี่ มิวสิก)

  1. นับหนึ่งถึงสิบ
  2. โก๋แก่
  3. ผู้ชายร้องไห้
  4. สร้างมาเพื่อเธอ
  5. หมอดู
  6. โกหก
  7. ช้าเหลือเกิน
  8. ความสุขโดยตรง
  9. เจ้าของ
  10. เสียงกระซิบ
  11. Family Man

หัวโบราณ (พ.ศ. 2545, จีราฟ เรคคอร์ดส์)

  1. เธอมีจริง
  2. แก้วตาขาร็อก
  3. อากาศ
  4. เขาหรือผม
  5. คู่ชีวิต
  6. จุดต่ำสุด
  7. ความเป็นแม่
  8. ขบวนสุดท้าย
  9. ใจเจ้าเอย
  10. ความคาดหวัง

เลี่ยมทอง (พ.ศ. 2547, จีราฟ เรคคอร์ดส์)

  • รายชื่อเพลง
  1. แมน
  2. คบไม่ได้
  3. สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดปี
  4. ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมาและมาจากท้องแม่)
  5. หนังสือรุ่น
  6. คุณเจ๋ง
  7. มากพอ
  8. ทำอะไรสักอย่าง
  9. สัตว์ร้ายในตัวฉัน
  10. คนหน้าใหม่
  • อัลบัมพิเศษ เป็นรีมิกซ์ แบบ cool กับ Hot ได้แก่
  1. อยู่ไม่สุข (Hot)
  2. สบายดี (Cool)

ดอกเดียว (พ.ศ. 2550, Genie Record)

  1. กระดกลิ้น
  2. ฉันอยู่คนเดียวได้?
  3. เพลงเก่า
  4. ซ้ำ
  5. คนมันไม่ใช่
  6. คิดอะไรอยู่
  7. ไม่มีวันลืม
  8. ดอกเดียว
  9. ทฤษฎีจ่าฝูง
  10. กำลังเดินทางอยู่

New single 2011 (พ.ศ. 2553, Genie Records)

  1. เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่
  2. ปมด้อยของฉัน
  3. เกลียดคำขอโทษ (ร้องคู่กับพั้นช์ วรกาญจน์ และประกอบภาพยนตร์เรื่อง โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต ของค่าย GTH)
  4. เจ็บปวดที่งดงาม
  5. ปอดแหก
  6. หีบเล็ก หีบใหญ่ (ประกอบละครเรื่อง ตะวันเดือด ทางช่อง 3)

มินิอัลบั้ม กลางคน (พ.ศ. 2556, Genie Records)

  1. ภูมิแพ้กรุงเทพ (Feat. ตั๊กแตน ชลดา)
  2. แค่ล้อเล่น
  3. เข็นครก "ข้าม" ภูเขา (Feat. กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่)
  4. ที่เหลือคือรักแท้
  5. countdown to zero

อัลบั้มบันทึกการแสดงสด

ไฮไลท์ ไอซียู (พ.ศ. 2538, โซนี่ มิวสิก)

  1. เหตุผล
  2. คุยกับตัวเอง
  3. เอื้อมไม่ถึง
  4. น.ส. หุ่นยนต์
  5. 30 ยังแจ๋ว
  6. ประตู
  7. สบายดี
  8. คำตอบ

ขุนช้างขอบคุณ (พ.ศ. 2541, โซนี่ มิวสิก)

  1. เพราะอะไร
  2. หัวล้านใจน้อย (Dance remix)
  3. ไม่ใช่นางฟ้า
  4. คนฉลาด
  5. รัก (คู่ เกวลิน)
  6. กลิ่น
  7. นามสกุล
  8. แพ้ (แจมกลองยาว)
  9. เอื้อมไม่ถึง (รักเรือล่ม)
  10. เรารักกัน
  11. อำนาจ
  12. หัวล้านใจน้อย

อัลบั้มรวมฮิต

รวบรวม 2535-2543 (พ.ศ. 2543, โซนี่ มิวสิก)

  1. ไม่ขอบคุณ
  2. ดึกแล้ว
  3. สูง
  4. สร้างมาเพื่อเธอ
  5. เพราะอะไร
  6. รัก
  7. คนฉลาด
  8. เหตุผล
  9. เอื้อมไม่ถึง
  10. ไกลเท่าเดิม
  11. ไว้ใจ
  12. ผู้ชายร้องไห้
  13. นับ 1-10
  14. หัวล้านใจน้อย
  15. แพ้
  16. 30 ยังแจ๋ว
  17. สบายดี
  18. ประตู

The Best Hits of ป้าง (พ.ศ. 2549, จีราฟ เรคคอร์ดส์)

  1. ทำอะไรสักอย่าง
  2. สบายดี
  3. หัวล้านใจน้อย
  4. คบไม่ได้
  5. แก้วตาขาร็อค
  6. คำตอบ
  7. เพราะอะไร
  8. เอื้อมไม่ถึง
  9. คนฉลาด
  10. ประตู
  11. แมน
  12. อากาศ
  13. พี่ชาย
  14. เธอมีจริง
  15. สร้างมาเพื่อเธอ
  16. หนังสือรุ่น

Best of ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (พ.ศ. 2554, Genie Records)

Disc 1
  1. สบายดี
  2. เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่
  3. หัวล้านใจน้อย
  4. ประตู
  5. เรารักกัน
  6. กระดกลิ้น
  7. ขบวนสุดท้าย
  8. แมน
  9. ซ้ำ
  10. ปล่อย
  11. ทำอะไรสักอย่าง
  12. สร้างมาเพื่อเธอ
  13. แก้วตาขาร็อค
  14. คิดอะไรอยู่
  15. 30 ยังแจ๋ว
Disc 2
  1. ปอดแหก
  2. เจ็บปวดที่งดงาม
  3. คนฉลาด
  4. ผู้ชายร้องไห้
  5. อากาศ
  6. เอื้อมไม่ถึง
  7. คบไม่ได้
  8. คนมันไม่ใช่
  9. เธอมีจริง
  10. ใจเจ้าเอย
  11. หนังสือรุ่น
  12. พี่ชาย
  13. ปมด้อยของฉัน
  14. คำตอบ
  15. น้อยเกินไป
  16. หนึ่งสัปดาห์มีเจ็ด


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • ชีวประวัติ จาก www.eotoday.com
  • จีนี่ เรคคอร์ดส
  • หนังสือที่พี่ป้างอ่าน
  • พี่ป้างแฟนคลับ
  • เฟซบุ๊กป้าง