วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วง สไมล์บัฟฟาโล


สไมล์บัฟฟาโล่

เป็นวงดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟ ร็อกไทย มีชื่อวงแปลเป็นภาษาไทยว่า "ควายยิ้ม" โดยเกิดจากการรวมตัวของนักดนตรี 4 คน คือ
1.ประดิษฐ์ วรสุทธิพิศิษฎ์ (ดิษ) ร้องนำ / เบส
2. ธีรภัค มณีโชติ (เต็น) กีตาร์
3. พนัส อภิชาติพงศ์บุตร (หนึ่ง) คีย์บอร์ด
4. วรเชษฐ์ เอมเปีย (เชษฐ์) กลอง

มีผลงานสตูดิโออัลบั้มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ในชื่อชุด SMILE BUFFALO ทำให้เพลง "ดีเกินไป" และ "ฟ้ายังฟ้าอยู่" กลายเป็นเพลงโด่งดังที่สุดของวง จากนั้นมีผลงานเพลงตามมาอีก 4 ชุด ก่อนจะแยกวงออกไป โดยภายหลัง ประดิษฐ์ และ ธีรภัค ได้ตั้งวงใหม่ชื่อ "Sniper"[1] ส่วน พนัส และ วรเชษฐ์ ยังคงมีผลงานเพลงออกมาอีกในชื่อเดิม และยังมีผลงานเดี่ยวของสมาชิกแต่ละคนด้วย

สมาชิกทั้งหมดได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 โดยตระเวนแสดงคอนเสิร์ตทั้งงานใหญ่และงานเล็ก ล่าสุดยังได้ร่วมแจมกับวงดนตรี ซิลลี่ ฟูลส์อีกด้วย

สตูดิโออัลบั้ม

2538 - SMILE BUFFALO
2539 - SMILE BUFFALO ชุดที่ 2
2541 - องุ่น
2542 - นอกคอก
2543 - สาวชุดดำ

อัลบั้มหลังการแยกตัว

2544 - SMILE ROCK (หนึ่ง+เชษฐ์)
2546 - ควายยิ้ม (หนึ่ง+เชษฐ์)
2548 - SNIPER (ดิษฐ์+เต็น)

อัลบั้มของสมาชิกแต่ละคน

2541 - Friends (เชษฐ์ ร่วมกับ ปุ้ม อรรถพงษ์, มีเพลงดัง คือ รักง่ายๆ)
2547 - TEN SOLO (เต็น)
2550 - Play It Forward (เต็น)
2552 - คนค้นกระเบื้อง (เชษฐ์)


วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พราย ปฐมพร ปฐมพร


ปฐมพร ปฐมพร นักร้องนักแต่งเพลงที่มีเอกลักษณ์การคาดหน้า เป็นลักษณะเด่นซึ่งแสดงออกถึงการไว้ทุกข์ให้กับการทำงานที่ไม่คิดว่าจะสำเร็จได้

ปฐมพรเกิดที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2505 เข้ามาในกรุงเทพเพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เขาได้พบกับ พิเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ โดยพิเชษฐ์ได้แต่งเพลงให้กับพรายเพื่อเป็นของขวัญ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพลง ปีศาจ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ตั้งวงดนตรีขึ้นชื่อว่าวง GAY ซึ่งมีพิเชษฐ์ ตำแหน่งกีตาร์ สมประสงค์ หมีปานในตำแหน่งมือกลอง และ พรายในตำแหน่งร้องนำ ต่อมาได้เข้าร่วมประกวดวงดนตรีของสโมสรผึ้งน้อย โดยใช้เพลง ทรมาน ซึ่งเป็นเพลงต่อต้านยาเสพติด จนในที่สุดก็ได้รับรางวัลชนะเลิศจนได้เซ็นสัญญากับสโมสร ทางวงได้บันทึกเสียงเดโมเทปโดยมีโปรดิวเซอร์อย่าง อัสนี โชติกุล มาดูแลให้ และได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น May 21st เนื่องจากบันทึกเสียงเสร็จกันในวันที่ 21 พฤษภาคม[1]

ต่อมาทางวงก็ได้ไปเล่นในงานของคลื่นวิทยุไนท์สปอตที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการเปิดตัวของวง แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น หลังจากที่เพิ่งได้เริ่มเพลงแรกก็พบว่าคีย์บอร์ดมีปัญหา เนื่องจากก่อนหน้านั้นได้มีเด็กมาเลื่อนคีย์ของคีย์บอร์ด ทำให้การแสดงในครั้งนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก จนส่งผลให้ในเวลาต่อมาทางวงจึงแยกย้ายกันไป[1]

หลังจากนั้นอีก 2 ปี พรายได้เซ็นสัญญากับค่ายรถไฟดนตรีในฐานะศิลปินเดี่ยว เขาพยายามที่จะเอาวงเข้าไป แต่ก็ไม่สำเร็จ[1] เขาได้ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด ไม่ได้มามือเปล่า มีเพลงฮิตติดหูในยุคสมัยนั้นอย่างเพลง ไม่ได้มามือเปล่า ตามชื่อของอัลบั้ม นอกจากนี้ยังมีบางเพลงของวง May 21st มาทำใหม่อีกด้วย จนกระทั่งมาถึงการแสดงสดที่ ร็อคผับ เขาได้ประกาศว่าจะเลิกร้องเพลงไปตลอดชีวิต

พ.ศ. 2534 ปฐมพรกลับมาอีกครั้งกับอัลบั้มชุด พราย พร้อมกับการแก้ผ้าถ่ายรูป ซึ่งถูกวิจารณ์จากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งได้ประกาศว่าตัวเองตายไปแล้วอีกด้วย จากคำโฆษณาที่ว่า "ปฐมพร ตายเป็น พราย" ในอัลบั้มชุดนี้ ทุกเพลงล้วนไม่มีชื่อ ยกเว้นเพลง พราย ซึ่งนับได้ว่าสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการเพลงไทยมาก และอัลบั้มชุดนี้ยังคงเป็นที่พูดถึงตลอดมา และสร้างเอกลักษณ์เป็นแบบอย่างของเพลงพรายเรื่อยมา

พ.ศ. 2536 หลังจากห่างหายไป 1 ปีกว่า ปฐมพรก็ได้ออกอัลบั้มคู่ชื่อว่า เจ้าหญิงแห่งดอกไม้ กับ เจ้าชายแห่งทะเล โดยอัลบั้มเจ้าหญิงจะพูดถึงความรู้สึกที่ตกต่ำที่สุด ตั้งแต่การฆ่าตัวตาย จนถึงความรู้สึกที่อยากจะเสียสละอยากจะเป็นคนดี ส่วนอัลบั้มเจ้าชายจะสะท้อนให้เห็นถึง สังคมและผู้คนรวมทั้งตัวเขาเองด้วย นอกจากนี้ทุกเพลงยังคงไม่มีชื่อเพลงอีกเช่นเคย แต่เป็นการแทนด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ดอกไม้ บุหรี่ และอื่นๆ เนื่องจากปฐมพรต้องการจะสื่อความหมายมากกว่าภาษาพูดและภาษาเขียนของเขา มีการจัดการแสดงสดเพื่อโปรโมตอัลบั้มคู่ที่บ้านมนังคศิลา แต่กลับไม่มีการเล่นเพลงใดๆ ในอัลบั้มคู่เลย

พ.ศ. 2538 ปฐมพรได้ออกอัลบั้มชุด ใต้สำนึก โดยเป็นการทำเองขายเอง ในอัลบั้มชุดนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความรุนแรงของเนื้อหาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเพลงที่กล่าวถึงนักวิจารณ์โดยเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์นรกกับเทวดาสัตว์กะหมา

พ.ศ. 2551 อัลบั้มเพื่อนของฉัน

สรุปผลงานอัลบัม
1. พ.ศ. 2532 ไม่ได้มามือเปล่า
2. พ.ศ. 2534 พราย
3. พ.ศ. 2536 เจ้าหญิงแห่งดอกไม้ เจ้าชายแห่งทะเล (อัลบัมคู่)
5. พ.ศ. 2538 ใต้สำนึก
6. พ.ศ. 2540 Ep.ปกเหลือง
7. พ.ศ. 2551 เพื่อนของฉัน

รวมเพลงพราย
1. พ.ศ. 2535 ก่อนกาล
2. พ.ศ. 2539 เจ้าหญิงแห่งดอกไม้ เจ้าชายแห่งทะเล
3. พ.ศ. 2544 พิเศษ
4. พ.ศ. 2549 The Days Of Pry - Anthology
5. 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 Boxset

ผลงานอื่นๆ
1.แต่งเพลง สายรุ้ง ของ ปุ้ม อรรถพงษ์ โดยใช้นามปากกาว่า ทะเล
2.แต่งเพลง ก่อน ให้ วง โมเดิร์นด๊อก
3.แต่งเพลง ว่าว ใ้ห้ วง ทีเคโอ

วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ดอนผีบิน


ดอนผีบิน เป็นวงดนตรีแนวสปีดเดธเมทัล (speed death metal) โดยสร้างงานแบบเพลงใต้ดิน ไม่มีการสังกัดค่าย โดยรวมตัวจากสามพี่น้องตระกูล แก้วทิตย์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยใช้ชื่อวงจากถิ่นบ้านเกิด ดอนผีลอย ในจังหวัดน่าน และใช้ค้างคาวเป็นสัญลักษณ์ของวง


สมาชิก
สมบัติ แก้วทิตย์ - พี่คนโต หัวหน้าวง มือกีต้าร์
สมศักดิ์ แก้วทิตย์ - คนกลาง มือกลอง
สมคิด แก้วทิตย์ - คนเล็ก ร้องนำ มือเบส


ผลงาน
เพลง
1. โลกมืด
2. เส้นทางสายมรณะ
3. อุบาทว์-อุบัติ
4. สองฝากฝั่ง (Warner Music Thailand)
5. สัญญาณเยือน
6. ปรากฏการณ์-ปรากฏกาย
คอนเสิร์ต
Return to the Nature ปี พ.ศ. 2540

รางวัล
เพลง ใดใดไร้ยืนยง รางวัลเพลงบรรเลงยอดเยี่ยม สีสันอะวอดส์ ประจำปี 2541


วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

วง หิน เหล็ก ไฟ



หิน เหล็ก ไฟ (Stone Metal Fire ตัวย่อ : SMF) เป็นชื่อวงดนตรีและชื่ออัลบั้มชุดแรกของวงหิน เหล็ก ไฟ โดยออกจำหน่ายเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2536 จัดทำโดยค่าย อาร์เอส โปรโมชัน โดยได้บันทึกเสียงที่ห้องอัด เซ็นเตอร์ สเตจ ของแอ๊ด คาราบาว เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ ยอม, เพื่อเธอ, นางแมว, พลังรัก, สู้, ร็อคเกอร์ โดยอัลบั้มหิน เหล็ก ไฟ เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านตลับ โดยได้รับรางวัลสีสันอวอร์ดครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2536) สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และโปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม




นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงคอนเสิร์ต "ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต" (Short Charge Shock Rock Concert) ครั้งที่ 1 ที่ สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการดนตรีไทย โดยเป็นวงร็อกวงแรกของไทยที่ทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านตลับ และคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินไทยที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในปี พ.ศ. 2536 จนต้องจัดครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2537




พ.ศ. 2538
หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มอีกเป็นชุดที่ 2 ในปี พ.ศ. 2537 ในชื่อชุด " คนยุคเหล็ก " มีเพลงที่ได้ความนิยมเช่น คนยุคเหล็ก, มั่วนิ่ม, คิดไปเอง เป็นต้น จากนั้นสมาชิกในวงก็แยกย้ายออกไป โป่ง ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ กับ ป๊อบ จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย ยังคงอยู่โดยรวมตัวกันในชื่อวง " The Sun " ออกอัลบั้มอีกในปี พ.ศ. 2540 และปี พ.ศ. 2543




จากนั้นในปี พ.ศ. 2547 สมาชิกในวงได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง และเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามาอีก คือ ปิงปอง ไฮ-ร็อก ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค และออกอัลบั้มเป็นชุดที่ 3 ในชื่อชุด " Never Say Die "






สมาชิกในวง



1.ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) ตำแหน่ง ร้องนำ
2.นำพล รักษาพงษ์ (โต) ตำแหน่ง กีตาร์
3.จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) ตำแหน่ง กีตาร์
4.ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์) ตำแหน่ง เบส
5.สมาน ยวนเพ็ง (หมาน) ตำแหน่ง กลอง (ชุดที่ 1)
6.Sel Vester Lester C.Esteban (Lester) ตำแหน่ง กลอง (ชุดที่ 2)
7.ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค (ปิงปอง) ตำแหน่ง กลอง (ชุดที่ 3)
8.ประทีป วรภัทร์ (หมู) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด (ชุดที่ 3)



ผลงาน



ชุดที่ 1: หิน เหล็ก ไฟ
อัลบั้มพิเศษ : ร็อคเพื่อนกัน
ชุดที่ 2: คนยุคเหล็ก
ชุดที่ 3: Never Say Die
อัลบั้มพิเศษ: Acoustique