วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธเนศ วรากุลนุเคราะห์


ชื่อ ธเนศ (เอก)

นามสุกล วรากุลนุเคราะห์

เกิด 9 กันยายน 2501

สัญชาติ ไทย


การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ สาขาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์


ผลงานการแสดงละคอนเวที
เรื่อง "38 ซอย 2"
"บาปบริสุทธิ์"
"ร้อยชีวิต"
"เทวดาตกสวรรค์"

ผลงานแต่งเพลงประกอบละครเรื่อง "พิษสวาท"

เป็นนักจัดรายการวิทยุของคลื่น ไนท์สปอร์ท

ผลงานเพลง แนวโปรเกรสซีฟร็อค

ปี2528อัลบัม แดนศิวิไลซ์

ปี2530อัลบัม คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต

ปี2533 อัลบัม กดปุ่ม

ปี2536 อัลบัม ร๊อกกระทบไม้

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ไมโคร


วงร็อคสัญชาติไทย สมาชิกประกอบด้วย


อำพล ลำพูน(หนุ่ย) ร้องนำ

ไกรภพ จันทร์ดี(กบ) กีต้าร์ ร้องนำ

มานะ ประเสริฐวงศ์(อ้วน) กีต้าร์ ร้องนำ

สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์(บอย) คีย์บอร์ด

อดินันท์ นกเทศ(อ๊อด) เบส

อดิสัย นกเทศ(ปู) กลอง


เมื่อปี พ.ศ. 2527 วง"เดอะ แคร็บ" ซึ่งเป็นวงดนตรีร็อก เล่นตามสถานที่ต่างๆ มีแนวที่สะดุดตาเปี๊ยโปสเตอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง จึงพาไปเล่นภาพยนตร์เรื่องวัยระเริง และเปลี่ยนชื่อวงเป็น "ไมโคร" โดยสุนทร สุจริตฉันท์ อดีตสมาชิกวงรอยัล สไปร์ส เป็นผู้ตั้งชื่อให้[ต้องการแหล่งอ้างอิง] ทำให้อำพล ลำพูน และวงไมโครมีชื่อเสียงในยุคนั้น


ในปี พ.ศ. 2529 วงไมโครออกอัลบั้มแรกคือ "ร็อก เล็ก เล็ก" สังกัด แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากจากนั้นมีผลงานต่อมาคือ "หมื่นฟาเรนไฮต์" และ "เต็มถัง"
ในปี พ.ศ. 2533 ไมโครได้แสดงคอนเสิร์ตต้อนรับนักกีฬาซีเกมส์ ในทำเนียบรัฐบาล และยังเป็นตัวแทนวงร็อกในประเทศไทย ได้ไปแสดงในงานเทศกาลร็อกนานชาติที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
ในปี พ.ศ. 2534 อำพล ลำพูน แยกตัวไปเป็นนักร้องเดี่ยว ไกรภพ จันทร์ดี จึงรับหน้าที่นักร้องนำแทน ไมโครมีอัลบั้มออกมาอีก 2 อัลบั้มกับแกรมมี่ และ 1 อัลบั้มจากค่ายฟีโมฮาร์นิค แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร


ผลงาน


วงไมโครมีผลงานเพลงทั้งหมด 6 อัลบั้ม


พ.ศ. ๒๕๒๙ ร็อคเล็กเล็ก


ผู้ดูแลการผลิต
อัสนี โชติกุล


ผู้อำนวยการผลิต
เรวัต พุทธินันทน์


ควบคุมเสียง
แกรี่ เอ็ดเวิร์


ช่วยควบคุมเสียง
แมง ณ ลำพูน


คำร้อง

นิติพงษ์ ห่อนาค , เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์ , กฤษณา การุณย์


ทำนอง / เรียบเรียง / เสียงประสาน
กฤษณา การุณย์ , จาตุรนต์ เอมช์บุตร , ไพฑูรย์ วาทะกร , วิชัย อิ้งอัมพร , พัชรี ศาราวรรณ

บันทึกเสียง
ห้องอัดเสียงศรีสยาม



รายชื่อเพลง


อย่าดีกว่า
อู๊ดกับแอ๊ด
รักปอนปอน
อยากจะบอกใครซักคน
เรามันก็เป็นอย่างนี้
สมน้ำหน้า...ซ่าส์...นัก
ฝันที่อยู่ไกล
อยากได้ดี
จำฝังใจ
ลุง


พ.ศ. ๒๕๓๑ หมื่นฟาเรนไฮต์


รายชื่อเพลง


เอาไปเลย
จรงใจซะอย่าง
หมื่นฟาเรนไฮต์
พายุ
ใจโทรมๆ
บอกมาคำเดียว
ลองบ้างไหม
รักคุณเข้าแล้ว
คิดไปเองว่าดี
โชคดีนะเพื่อน


พ.ศ. ๒๕๓๒ เต็มถัง


รายชื่อเพลง


ส้มหล่น
เรามันก็คน
คนไม่มีสิทธิ์
ดับเครื่องชน
รู้ไปทำไม
มันก็ยังงงงง
เติมน้ำมัน
รุนแรงเหลือเกิน
ถึงเพื่อนเรา
เปิดฟ้า


พ.ศ. ๒๕๓๔ เอี่ยมอ่องอรทัย


รายชื่อเพลง


รักซะให้เข็ด
เลือดเย็น
ไม่มีอะไรจะเสีย
สะใจแล้วซิเธอ
เฮกันหน่อย

รู้ตัวอยู่แล้ว

อีรุงตุงนัง

ตัวเราก็เท่านี้
คิดถึง (บรรเลง)
ร็อกรักร็อก


พ.ศ. ๒๕๓๘ สุริยคราส


รายชื่อเพลง


สุริยคราส
ตายเปล่า
ตายทั้งเป็น
อย่าเสียเวลา
คิดผิด-คิดใหม่
ที่เขาเรียกว่าเพื่อน
ไม่มีเหลือใคร
รักตัวเองบ้าง
มันเป็นอะไรของมัน
ลา


พ.ศ. ๒๕๔๐ ทางไกล


รายชื่อเพลง


ทำ ฅน เป็น ควาย
ทางไกล
อย่างโหดร้าย
ช้างเป็นช้าง
จากกันด้วยดี
ขี้โม้
ดูแลตัวเองด้วย
รู้ตัว
คืนนี้


เว็ปไซต์ http://www.microrockclub.com/home.html
ฝันร้าย

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อิทธิ พลางกูร


ชื่อจริง เอกชัยวัฒน์ พลางกูร


ชื่อเล่น อิท


เกิด 30 มกราคม 2498


เสียชีวิต 11 พฤศจิกายม 2547 อายุได้ 49 ปี


อาชีพ นักร้อง นักดนตรี โปรดิวเซอร์


แนวเพลง ร็อค


เครื่องดนตรี กีต้าร์


ค่าย/สังกัด อาร์ เอส โปรโมชั่น มิวสิค ออนเอิร์ธ(บริษัทในเครือแกรมมี่)


ปี 2531- 2547


เป็นบุตรของ นายแพทย์โอภาส และ แพทย์หญิง สุมาลย์ พลางกูร มีพี่ชายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงคือ อุกกฤษ พลางกูร ซึ่งอยู่ในวงบัตเตอร์ฟลาย


อิทธิจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอนุปริญญาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อิทธิเข้าสู่วงการเพลงด้วยการเป็นสมาชิกวง "เดอะ เบลสส์" ร่วมงานกับ สุรสีห์ อิทธิกุล, ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว, แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี ตระเวนเล่นดนตรีตามสถานที่ต่าง ๆ วงเดอะ เบลสส์ มีอัลบั้มออกมา 2 ชุด มีเพลงฮิตอย่าง หัวใจขายขาด และ เมื่อใดฉันไร้รัก เดอะ เบลสส์ มีอายุอยู่ 8 ปี หลังจากยุบวง อิทธิไปเป็นหุ้นส่วนทำห้องอัด "แจม สตูดิโอ" กับพี่ชาย พร้อมกับทำงานเป็นซาวนด์ เอ็นจิเนียร์


ได้รับการชักชวนจาก สุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ให้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2531 ชื่อชุด "ให้ มัน แล้ว ไป" กับสังกัดอาร์.เอส.โปรโมชั่น มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ เก็บตะวัน จากการแต่งของธนพล อินทฤทธิ์ (ซึ่งต่อมาเพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงยอดนิยมมาตราบจนปัจจุบัน และเป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำตัวของอิทธิ) , ให้มันแล้วไป, ยังจำไว้
จากนั้นอิทธิได้ออกอัลบั้มกับทางอาร์.เอส.อีกหลายชุดต่อมา เช่น "ไปต่อไป", "อิทธิ 3 เวลา" ที่มีเทียรี่ เมฆวัฒนา จากคาราบาวมาร่วมงานด้วยในเพลง กาลเวลา "อิทธิ 4 ป้ายแดง", "อิทธิ 6 ปกขาว" เป็นต้น มีเพลงที่ได้รับความนิยมอีกหลายเพลง เช่น ไปต่อไป, เราสามคน, อย่าทนอีกเลย, นายดินทราย เป็นต้น พร้อมกับทำงานเบื้องหลังเป็นโปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิตผลงานของศิลปินในสังกัดเดียวกันอีกหลายคน เช่น อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, เรนโบว์ (พีระพงษ์ พลชนะ) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2540 อิทธิได้ออกมาตั้งค่ายเพลงของตัวเองชื่อ มิวสิก ออน เอิร์ธ ในเครือของแกรมมี่ พร้อมกับได้ออกอัลบั้มของตัวเองคู่กับเทียรี่ เมฆวัฒนา อีกครั้ง ในชื่อชุด "ฮาร์ท แอนด์ โซล" มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ในกำมือ, ผัดฟัก... ฟักผัด, ฆ่าไม่ตาย เป็นต้น แต่ผลงานของศิลปินคนอื่นในค่ายที่ออกตามหลังมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ต้องปิดค่ายไปในระยะเวลาต่อมาไม่นาน
ชีวิตครอบครัว อิทธิสมรสกับ นางชาญดา ลียะวณิช มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน


ในกลางปี พ.ศ. 2545 อิทธิ พลางกูร ปรากฏเป็นข่าวโด่งดังในสังคม เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ขั้นรุนแรงแล้ว โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวมาก่อน มารู้ตัวก็ต่อเมื่อจู่ ๆ วันหนึ่งเกิดเลือดไหลจากทวารหนักอย่างรุนแรงจนเจ้าตัวหมดสติ เพื่อนข้างห้องซึ่งอยู่อพาร์ตเมนต์เดียวกันเป็นผู้นำส่งโรงพยาบาล ซึ่งอิทธิได้เผยว่าตนเองเป็นคนชอบรับประทานน้ำอัดลมกับไอศกรีมอย่างมาก โดยเฉพาะน้ำอัดลมสามารถดื่มแทนน้ำได้เลยทีเดียว ต่อมาทางอาร์.เอส.โปรโมชั่น ต้นสังกัดเก่าก็ได้ให้ความช่วยเหลือกับอิทธิและครอบครัว โดยการให้โอกาสอิทธิออกอัลบั้มอีกชุด ในชื่อชุดว่า "เวลาที่เหลือ" และทำอัลบั้มชุดพิเศษที่รวมเอานักร้อง ศิลปินในค่ายมาร้องเพลงของอิทธิขึ้นมาใหม่ ในชื่อชุด "a tribute to อิทธิ พลางกูร" และได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ขึ้นมาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก ซึ่งอิทธิและภรรยาพร้อมลูก ๆ ก็ได้ขึ้นเวทีแสดงด้วย


ท้ายที่สุดในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 อิทธิ พลางกูร ก็อาการทรุดหนัก ต้องนำส่งโรงพยาบาลบางโพ ซึ่งแพทย์ได้ช่วยปั๊มหัวใจจนชีพจรเต้นขึ้นมาอีกครั้ง ต่อมาเวลา 14.50 น. ก็หมดลมหายใจ แพทย์ก็ช่วยปั๊มหัวใจอีกและใส่เครื่องหายใจช่วย แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ซึ่งอิทธิได้สิ้นลมหายใจเมื่อเวลา 16.00 น.
งานศพของอิทธิทำการบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน และกระทำการฌาปนกิจในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน