ชื่อจริง เอกชัยวัฒน์ พลางกูร
ชื่อเล่น อิท
เกิด 30 มกราคม 2498
เสียชีวิต 11 พฤศจิกายม 2547 อายุได้ 49 ปี
อาชีพ นักร้อง นักดนตรี โปรดิวเซอร์
แนวเพลง ร็อค
เครื่องดนตรี กีต้าร์
ค่าย/สังกัด อาร์ เอส โปรโมชั่น มิวสิค ออนเอิร์ธ(บริษัทในเครือแกรมมี่)
ปี 2531- 2547
เป็นบุตรของ นายแพทย์โอภาส และ แพทย์หญิง สุมาลย์ พลางกูร มีพี่ชายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงคือ อุกกฤษ พลางกูร ซึ่งอยู่ในวงบัตเตอร์ฟลาย
อิทธิจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอนุปริญญาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อิทธิเข้าสู่วงการเพลงด้วยการเป็นสมาชิกวง "เดอะ เบลสส์" ร่วมงานกับ สุรสีห์ อิทธิกุล, ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว, แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี ตระเวนเล่นดนตรีตามสถานที่ต่าง ๆ วงเดอะ เบลสส์ มีอัลบั้มออกมา 2 ชุด มีเพลงฮิตอย่าง หัวใจขายขาด และ เมื่อใดฉันไร้รัก เดอะ เบลสส์ มีอายุอยู่ 8 ปี หลังจากยุบวง อิทธิไปเป็นหุ้นส่วนทำห้องอัด "แจม สตูดิโอ" กับพี่ชาย พร้อมกับทำงานเป็นซาวนด์ เอ็นจิเนียร์
อิทธิเข้าสู่วงการเพลงด้วยการเป็นสมาชิกวง "เดอะ เบลสส์" ร่วมงานกับ สุรสีห์ อิทธิกุล, ปั่น ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว, แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี ตระเวนเล่นดนตรีตามสถานที่ต่าง ๆ วงเดอะ เบลสส์ มีอัลบั้มออกมา 2 ชุด มีเพลงฮิตอย่าง หัวใจขายขาด และ เมื่อใดฉันไร้รัก เดอะ เบลสส์ มีอายุอยู่ 8 ปี หลังจากยุบวง อิทธิไปเป็นหุ้นส่วนทำห้องอัด "แจม สตูดิโอ" กับพี่ชาย พร้อมกับทำงานเป็นซาวนด์ เอ็นจิเนียร์
ได้รับการชักชวนจาก สุรชัย เชษฐ์โชติศักดิ์ ให้ออกอัลบั้มชุดแรกในปี พ.ศ. 2531 ชื่อชุด "ให้ มัน แล้ว ไป" กับสังกัดอาร์.เอส.โปรโมชั่น มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ เก็บตะวัน จากการแต่งของธนพล อินทฤทธิ์ (ซึ่งต่อมาเพลงนี้ได้กลายเป็นเพลงยอดนิยมมาตราบจนปัจจุบัน และเป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำตัวของอิทธิ) , ให้มันแล้วไป, ยังจำไว้
จากนั้นอิทธิได้ออกอัลบั้มกับทางอาร์.เอส.อีกหลายชุดต่อมา เช่น "ไปต่อไป", "อิทธิ 3 เวลา" ที่มีเทียรี่ เมฆวัฒนา จากคาราบาวมาร่วมงานด้วยในเพลง กาลเวลา "อิทธิ 4 ป้ายแดง", "อิทธิ 6 ปกขาว" เป็นต้น มีเพลงที่ได้รับความนิยมอีกหลายเพลง เช่น ไปต่อไป, เราสามคน, อย่าทนอีกเลย, นายดินทราย เป็นต้น พร้อมกับทำงานเบื้องหลังเป็นโปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิตผลงานของศิลปินในสังกัดเดียวกันอีกหลายคน เช่น อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, เรนโบว์ (พีระพงษ์ พลชนะ) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2540 อิทธิได้ออกมาตั้งค่ายเพลงของตัวเองชื่อ มิวสิก ออน เอิร์ธ ในเครือของแกรมมี่ พร้อมกับได้ออกอัลบั้มของตัวเองคู่กับเทียรี่ เมฆวัฒนา อีกครั้ง ในชื่อชุด "ฮาร์ท แอนด์ โซล" มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ในกำมือ, ผัดฟัก... ฟักผัด, ฆ่าไม่ตาย เป็นต้น แต่ผลงานของศิลปินคนอื่นในค่ายที่ออกตามหลังมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ต้องปิดค่ายไปในระยะเวลาต่อมาไม่นาน
ชีวิตครอบครัว อิทธิสมรสกับ นางชาญดา ลียะวณิช มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน
จากนั้นอิทธิได้ออกอัลบั้มกับทางอาร์.เอส.อีกหลายชุดต่อมา เช่น "ไปต่อไป", "อิทธิ 3 เวลา" ที่มีเทียรี่ เมฆวัฒนา จากคาราบาวมาร่วมงานด้วยในเพลง กาลเวลา "อิทธิ 4 ป้ายแดง", "อิทธิ 6 ปกขาว" เป็นต้น มีเพลงที่ได้รับความนิยมอีกหลายเพลง เช่น ไปต่อไป, เราสามคน, อย่าทนอีกเลย, นายดินทราย เป็นต้น พร้อมกับทำงานเบื้องหลังเป็นโปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิตผลงานของศิลปินในสังกัดเดียวกันอีกหลายคน เช่น อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง, เรนโบว์ (พีระพงษ์ พลชนะ) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2540 อิทธิได้ออกมาตั้งค่ายเพลงของตัวเองชื่อ มิวสิก ออน เอิร์ธ ในเครือของแกรมมี่ พร้อมกับได้ออกอัลบั้มของตัวเองคู่กับเทียรี่ เมฆวัฒนา อีกครั้ง ในชื่อชุด "ฮาร์ท แอนด์ โซล" มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ในกำมือ, ผัดฟัก... ฟักผัด, ฆ่าไม่ตาย เป็นต้น แต่ผลงานของศิลปินคนอื่นในค่ายที่ออกตามหลังมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ต้องปิดค่ายไปในระยะเวลาต่อมาไม่นาน
ชีวิตครอบครัว อิทธิสมรสกับ นางชาญดา ลียะวณิช มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน
ในกลางปี พ.ศ. 2545 อิทธิ พลางกูร ปรากฏเป็นข่าวโด่งดังในสังคม เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ขั้นรุนแรงแล้ว โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวมาก่อน มารู้ตัวก็ต่อเมื่อจู่ ๆ วันหนึ่งเกิดเลือดไหลจากทวารหนักอย่างรุนแรงจนเจ้าตัวหมดสติ เพื่อนข้างห้องซึ่งอยู่อพาร์ตเมนต์เดียวกันเป็นผู้นำส่งโรงพยาบาล ซึ่งอิทธิได้เผยว่าตนเองเป็นคนชอบรับประทานน้ำอัดลมกับไอศกรีมอย่างมาก โดยเฉพาะน้ำอัดลมสามารถดื่มแทนน้ำได้เลยทีเดียว ต่อมาทางอาร์.เอส.โปรโมชั่น ต้นสังกัดเก่าก็ได้ให้ความช่วยเหลือกับอิทธิและครอบครัว โดยการให้โอกาสอิทธิออกอัลบั้มอีกชุด ในชื่อชุดว่า "เวลาที่เหลือ" และทำอัลบั้มชุดพิเศษที่รวมเอานักร้อง ศิลปินในค่ายมาร้องเพลงของอิทธิขึ้นมาใหม่ ในชื่อชุด "a tribute to อิทธิ พลางกูร" และได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ขึ้นมาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก ซึ่งอิทธิและภรรยาพร้อมลูก ๆ ก็ได้ขึ้นเวทีแสดงด้วย
ท้ายที่สุดในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 อิทธิ พลางกูร ก็อาการทรุดหนัก ต้องนำส่งโรงพยาบาลบางโพ ซึ่งแพทย์ได้ช่วยปั๊มหัวใจจนชีพจรเต้นขึ้นมาอีกครั้ง ต่อมาเวลา 14.50 น. ก็หมดลมหายใจ แพทย์ก็ช่วยปั๊มหัวใจอีกและใส่เครื่องหายใจช่วย แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ซึ่งอิทธิได้สิ้นลมหายใจเมื่อเวลา 16.00 น.
งานศพของอิทธิทำการบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน และกระทำการฌาปนกิจในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
งานศพของอิทธิทำการบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน และกระทำการฌาปนกิจในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น