ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ (The Olarn Project)
ดนตรีที่เล่นเพลงแนวเฮฟวี่เมทัลก่อตั้งปี พ.ศ. 2528
โดยโป่ง)ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ โอ้) โอฬาร พรหมใจ
โดยเปลี่ยนมาจากวงโซดา ซึ่งตั้งใจตั้งชื่อวงว่า " Thailand Band " แต่ โอฬารเห็นว่า อาจจะมีผลเสียต่อประเทศชาติได้ ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น The Olarn Project เพราะหากเกิดอะไรขึ้น โอฬารจะเป็นผู้รับผิดชอบด้วยตัวเอง
ดนตรีที่เล่นเพลงแนวเฮฟวี่เมทัลก่อตั้งปี พ.ศ. 2528
โดยโป่ง)ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ โอ้) โอฬาร พรหมใจ
โดยเปลี่ยนมาจากวงโซดา ซึ่งตั้งใจตั้งชื่อวงว่า " Thailand Band " แต่ โอฬารเห็นว่า อาจจะมีผลเสียต่อประเทศชาติได้ ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น The Olarn Project เพราะหากเกิดอะไรขึ้น โอฬารจะเป็นผู้รับผิดชอบด้วยตัวเอง
สมาชิกวง
ชุดก่อตั้ง
โอฬาร พรหมใจ (โอ้ - กีตาร์)
ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (ลูกโป่ง - ร้องนำ)
พิทักษ์ ศรีสังข์ (ทักษ์ - เบส)
ฉัตรพงษ์ นิยมไทย (แตงโม - keyboard/ร้องนำ)
ชนินทร์ แสงคำชู (กุ๋งกิ๋ง - กลอง)
สมาชิกที่เข้ามาชุดที่สอง
ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์ - เบส)
Mikael Johansson (กลอง)
สมาชิกที่เข้ามาชุดที่สาม
นุสรณ์ พจน์พิพัฒน์ (ป้อ - Keyboard)
กฤษฎา จงจิตต์ (หนิง - เบส)
สมาชิกที่เข้ามาชุดที่สี่
ฐิติชนม์ พึ่งอาศรัย (บอย - ร้องนำ)
Ruba Mosan (Keyboard)
เอกมันต์ โพธิพันธุ์ทอง (มัน - กลอง)
สมาชิกที่เข้ามาชุดที่ห้า
จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อบ - กีตาร์)
ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค (ปิงปอง - กลอง)
ดิ โอฬาร โปรเจ็คท์ ปัจจุบันได้กลายเป็นวงร็อกรุ่นใหญ่ที่สุขุม นุ่มลึก ละเอียด ประพันธ์เพลงได้อย่างไพเราะ กลมกล่อม
วงร็อกระดับตำนานของเมืองไทยอย่าง “ดิโอฬารฯ” ถือกำเนิดมาจากวงดนตรีที่เล่นป็อปร็อก ในนามวง “โซดา” มี สมโชค นวลนิรันดร์ (อาร์ต) ลีดกีตาร์ หัวหน้าวง, บรรจง รัตนโสภณ กลอง/ร้องนำ, ฉัตรพงษ์ นิยมไทย (โม) คีย์บอร์ด/ร้องนำ, ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) ร้องนำ, โอฬาร พรหมใจ(โอ้) ลีดกีตาร์ และพิทักษ์ ศรีสังข์ (ทักษ์) เบสกีตาร์ ได้ ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา เป็นผู้จัดการวง “เต๋อ” เรวัติ พุทธินันทน์ มิกซ์ดาวน์และควบคุมการผลิต ออกผลงานมาได้เพียงอัลบั้มเดียวชื่อ “คำก้อน” แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาด วงโซดาจึงเงียบหายไปกับสายลม
แต่ทว่า ลูกโป่ง–โอ้-โม และทักษ์ กลับมาฟอร์มวงกันอีกครั้ง ในนามของวง “ดิ โอฬาร โปรเจ็กท์” ภายใต้ชื่ออัลบั้ม “กุมภาพันธ์ 2528” ได้ ชนินทร์ แสงคำชู มาตีกลอง พร้อมกับกำหนดแนวทางดนตรีตามแบบฉบับของดิโอฬารฯ เอง โปรดิวซ์กันเอง แต่งเพลงเอง โดยมี โอฬาร พรหมใจ เป็นหลักในด้านดนตรี ส่วนลูกโป่ง เป็นหัวเรือด้านเนื้อเพลง
ยุคนั้นนับได้ว่า ดิโอฬารฯ เป็นวงร็อกใต้ดินที่เล่นดนตรีได้หนักแน่นสุดๆ แถมมีเพลงบัลลาดร็อกสุดคลาสสิกอย่าง “แทนความห่วงใย” และ “อย่าหยุดยั้ง” ส่งให้วงร็อกหน้าใหม่เข้าไปครองอยู่ในใจขาร็อกทั่วทุกหัวระแหง เป็นวงหน้าใหม่ที่ดังได้ด้วยฝีมือล้วนๆ แทบจะไม่มีการโปรโมท
ทิ้งช่วงไม่นาน ดิโอฬารฯ ปล่อยอัลบั้มที่ 2 ตามมาติดๆ ชื่อ “หูเหล็ก” นักวิจารณ์พากันยกย่องว่าเป็นอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมแห่งปี มีเพลงเด่นๆ อย่าง คนหูเหล็ก, ขอผมสักคืน, เหนือคำบรรยาย และนำเพลง “อย่าหยุดยั้ง” มาทำเป็นเวอร์ชั่น อคูสติก ได้เพราะกินใจคนทั่วเมือง
อัลบั้มนี้มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกเล็กน้อยคือ ณรงค์ ศิริสารสุนทร มาเล่นเบสแทน พิทักษ์ ศรีสังข์ ส่วนกลองได้ มิคาเอล จอห์นสัน มาตีแทนชนินทร์ แสงคำชู พิทักษ์ ศรีสังข์ กลายมาเป็นเบสรับเชิญในเพลง “เพราะรัก” ออกภายใต้สังกัด ไมล์สโตน เร็คคอร์ดของ มาโนช พุฒตาล แล้วพวกเขาก็เงียบหายไป มาโผล่อีกครั้งในงาน “ไตรภาค” แต่ไม่เต็มวง สรุปว่าวงร็อกชั้นดีอย่าง ดิ โอฬาร โปรเจ็กท์ แตกอย่างชัดเจนเมื่อ ลูกโป่ง ไปฟอร์มวงใหม่ในชื่อ “หินเหล็กไฟ”
ส่วนโอฬาร พรหมใจ ยังมุ่งมั่นทำงานภาคดนตรีที่เขารักต่อ ด้วยการออกโซโลอัลบั้ม “ลิขิตดวงดาว” อัลบั้มนี้ดนตรีเด่นแต่ได้นักร้องด้อยกว่าลูกโป่งที่เข้ากันได้ดีกับดนตรีของโอฬาร ทำให้เป็นเพียงตำนานหน้าหนึ่งของมือกีตาร์ร็อกเท่านั้น
ผิดกับ "หินเหล็กไฟ" ที่พุ่งเข้าหาการตลาดมากขึ้น ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เมื่อต่างคนต่างมีวิถีทาง เมื่อรวมกันก็ต้องมีแยกเป็นธรรมดา
กระทั่งล่วงเวลาไป 15 ปี ดิ โอฬาร โปรเจ็กท์ ได้กลับมารวมตัวกันทำงานในแบบ “รียูเนียน” เหมือนวงต่างประเทศนิยมกัน เป็นการหวนรำลึกถึงอดีตที่เคยรุ่งเรือง และเรียกได้ว่าเป็นการทำงานทิ้งท้ายให้แฟนพันธุ์แท้สมใจกับที่รอคอย เพราะนอกจากจะนำเพลงเก่าที่เคยโด่งดังในอดีตอย่าง ไฟปรารถนา, เพราะรัก, อย่าหยุดยั้ง, แทนความห่วงใย และเหนือคำบรรยาย มาทำใหม่แล้ว
อัลบั้ม “คลาสสิก” ยังกำนัลเพลงใหม่ให้อีกถึง 6 เพลง
นักดนตรีในยุครียูเนียน ประกอบด้วยแกนนำหลักของวง อย่าง โอฬาร พรหมใจ, พิทักษ์ ศรีสังข์, ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ มี ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค ตีกลอง แถมยังมี จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป็อป เดอะซัน) มาเป็นกีตาร์รับเชิญในงานระดับตำนานครั้งนี้ด้วย
เรียกว่าเป็นอัลบั้มที่รวมไปด้วยสุดยอดมือกีตาร์แห่งยุค 2 คน เข้าด้วยกัน อันแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานสไตล์กีตาร์ที่ร้อนแรงเผ็ดร้อนของคนหนุ่มอย่าง ป็อป และกีตาร์ร็อกที่ลุ่มลึกของ โอฬาร ที่สูงวัยและมากประสบการณ์
สังเกตได้ชัดเจน ถ้าเพลงไหนที่ โอฬาร พรหมใจ แต่งทำนองและเรียบเรียง เพลงจะออกมาในฟีลที่ลึก ละเอียด บอกถึงประสบการณ์และวัยวุฒิ ส่วนเพลงที่ป็อบ เดอะซันแต่งอย่างเพลง ขอบคุณ, กำจัดมัน และเงินบนดาวอังคาร สีสันดนตรีจะออกมาในรูปแบบกร้าวแกร่งรุนแรง ดุดัน เมามัน โดยเฉพาะไลน์โซโลกีตาร์และริธึ่ม
เรียกว่า ดิโอฬาร คลาสสิก ชุดนี้ ได้ทั้งความมันและหวาน ครบรส
ถ้าเป็นแฟนโอฬารฯ มาตั้งแต่ยุคต้น ย่อมเห็นพัฒนาการทางดนตรีของสมาชิกทุกคนในวงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะฝีมือกีตาร์ของ โอฬาร พรหมใจที่เชี่ยวลึกจนมองไม่เห็นความเกรี้ยวกราดดังแต่ก่อน แต่กลับส่งผลดีต่อสำเนียงกีตาร์ของเขา ทำให้เพลงในยุคคลาสสิกนี้มีเสน่ห์น่าหยิบมาฟังได้บ่อยครั้งกว่า
เมื่อครั้งที่อัลบั้มนี้ออกวางแผง คอร็อกรุ่นใหม่แสดงอาการผิดหวังกับงานในรูปแบบ “คลาสสิค” (เอาไว้ลองย้อนกลับไปฟังเมื่อเวลาผ่านไปสักสิบปี ดูซิว่ายังจะยืนยันความคิดเดิมอยู่หรือเปล่า)
สำหรับคอร็อกรุ่นใหญ่ อัลบั้ม “คลาสสิก” คงตอบสนองอารมณ์ร็อกสมวัยได้ครบถ้วน เพราะนี่คืออัลบั้มที่ดีชุดหนึ่งของวงการเพลงไทย
ผลงานเพลงมีอัลบั้ม 5 ชุด
พ.ศ. 2530 - อัลบั้ม "กุมภาพันธ์ 2528 แทนความห่วงใย" ที่มีเพลงอมตะ เช่น อย่าหยุดยั้ง และแทนความห่วงใย
พ.ศ. 2532 - อัลบั้ม "หูเหล็ก"
พ.ศ. 2536 - อัลบั้มพิเศษ "ไตรภาค" (ออกชนกับอัลบั้ม หิน เหล็ก ไฟ ชุดที่ 1)
พ.ศ. 2539 - อัลบั้ม "ลิขิตดวงดาว"
พ.ศ. 2545 - อัลบั้ม "The Olarn Classic"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น