วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แหลม มอริสัน วง VIP








หลม มอริสัน
มีชื่อจริงว่า วิชัย นวลแจ่ม
เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2492 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นที่รู้จักการเล่นเล่นดนตรีร็อกแอนด์โรลในสไตล์เฮฟวี่ เมทัล ตามผับหรือสถานบันเทิงต่าง ๆ ให้แก่ทหารเกณฑ์อเมริกันในช่วงสงครามเวียดนามในชื่อวง V.I.P. ที่จังหวัดอุดรธานี โดยชื่อ แหลม มอริสัน ได้มาจากเสียงร้องที่แหบแหลม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และสามารถเล่นเพลงของจิม มอร์ริสัน นักร้องนำของวงเดอะดอร์ส วงร็อกสัญชาติอเมริกันชื่อดังในยุคนั้นได้เหมือนมาก ซึ่งหานักร้องนักดนตรีชาวไทยน้อยรายที่สามารถจะทำเช่นนี้ได้

แหลม มอริสัน ได้ไปเล่นดนตรีในต่างประเทศหลายประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เช่น นอร์เวย์, สวีเดน, เดนมาร์ค และเยอรมนี และเคยร่วมเล่นกับไมเคิล แชงเกอร์ กีตาร์ของวงสกอร์เปี้ยนมาแล้ว ซึ่งเป็นมือกีตาร์ที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นมือกีตาร์ระดับต้น ๆ ของโลก และไมเคิล แชงเกอร์ ก็ยอมรับในความสามารถของแหลม มอริสัน

แหลม มอริสัน ได้เล่นดนตรีตามสถานบันเทิงต่าง ๆ ทั่วประเทศ และเคยร่วมเล่นเป็นศิลปินรับเชิญหรือแบ็กอัพให้แก่ศิลปินไทยหลายคน หลายวง เช่น คาราบาว, โดม มาร์ติน เป็นต้น และในต้นปี พ.ศ. 2539 ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง มีเพลงโปรโมตชื่อ แรงต้านลม

แหลม มอริสัน ได้ถูกยอมรับว่าเป็นมือกีตาร์ระดับต้น ๆ คนหนึ่งของประเทศไทย จนได้รับฉายาว่า "กีตาร์คิง" ซึ่งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2538 ในอัลบั้ม 15 ปี คาราบาว หากหัวใจยังรักควาย ของคาราบาว ได้แต่งเพลงขึ้นมาเพลงหนึ่ง ชื่อ กีตาร์คิงส์ เพื่อเป็นการยกย่องถึงแหลม มอริสัน ด้วย

ปัจจุบัน ยังคงเล่นดนตรีอยู่ที่ร้าน Blue Factory พัทยาใต้ ทุกคืนตั้งแต่เวลา 23.00 น.เป็นต้นไป หยุดแสดงวันจันทร์

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ ตรีดาว พงศ์สุรีย์นันท์ แต่ต่อมาได้แยกย้ายกัน มีบุตรสาวหนึ่งคน คือ ณัฐชา นวลแจ่ม เป็นนักแสดงนำในภาพยนตร์ไทยเรื่อง ซักซี้ด ห่วยขั้นเทพ



วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วง ไฮดร้า


ไฮดร้า คือวงดนตรีไทยแนวป๊อบร็อก"ป๊อปร็อก" ก่อตั้งและมีผลงานเพลงในปี พ.ศ. 2535โดยมีนักร้องนำคือ นครินท์ กิ่งศักดิ์ (ป้าง) และ"ธนา ลวสุต"ธนา ลวสุต (ปอนด์) โดยป้างเป็นคนแต่งคำร้อง และปอนด์แต่ง
"ทำนอง" อยู่ในค่ายนิธิทัศน์ ไฮดร้าได้รับรางวัลสีสันอวอร์ด สาขาวงดนตรีหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ปี 2535 จากอัลบั้มชุดเดียวคือ "อัศเจรีย์" ซึ่งใช้เวลาเตรียมตัวทำอัลบั้มนานถึง 5 ปี

ข้อมูลการก่อสร้างวงนั้น มีรายงานอยู่สองทาง บางรายบอกว่า ป้าง แต่งเนื้อเพลงขึ้นมาแล้วนำไปให้ ปอนด์ จากนั้นก็เกิดเป็น "ไฮดร้า" ในผลงานชุดแรกจะสังเกตว่า เนื้อเพลงในอัลบั้มเป็นฝีมือของป้างแทบทั้งสิ้น โดยปอนด์เป็นผู้แต่งทำนอง ดนตรีและเรียบเรียงเสียงประสาน ทั้งนี้เพราะก่อนหน้านี้ ปอนด์เคยรวมวงกับเพื่อนทำวงดนตรีฟีดแบค ในแนวเทคโนป๊อป(ทั้งวงใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าทั้งหมด) และผลงานอยู่ในระดับฝีมือเสียด้วย เพียงแต่มีเหตุต้องยุบวงไป ความหมายของชื่อวงไฮดร้าจึงสื่อว่า เมื่อหน่อหนึ่งตายไปก็จะเกิดใหม่เป็นสองหน่อ ซึ่งก็คือวงเก่าของปอนด์กลายมาเป็น ป้างกับปอนด์ จึงเป็นที่มาของชื่อวงดนตรีแนวป๊อปที่มีฝีมือจัดจ้านโดยสมาชิกสองคน ส่วนอีกแนวทางคือปอนด์ได้ติดต่อป้างให้มาช่วยทำงานชุดใหม่ แต่ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผลงานที่ออกมาก็คุ้มค่าแก่การจดจำของแฟนเพลงป๊อปไทยมา นานหลายปี มีเพลงป๊อปชั้นดีอย่างเช่น น.ส.หุ่นยนต์, ไว้ใจ, ไกลเท่าเดิม หรือ ตัวปลอม แม้กระทั่ง "ดึกแล้ว" เพลงเดียว ที่ปอนด์ร้องในอัลบั้มครั้งแรกซึ่งมีเนื้อหากินใจและท่วงทำนองอัน ไพเราะจนถึงทุกวันนี้

อัลบั้ม อัศเจรีย์พ.ศ. 2535

  1. ไว้ใจ
  2. น.ส. หุ่นยนต์
  3. ไอ้มดแดง
  4. ตัวปลอม
  5. นายแม้น
  6. เครื่องบินตามหมา
  7. ดึกแล้ว
  8. ไกลเท่าเดิม
  9. ของรักของหวง
  10. ชุดแดง


วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วง ตาวัน





















วงตาวันเป็นกลุ่มคนดนตรีที่ทนไม่ได้กับความไม่เป็นธรรมจากเถ้าแก่ หรือนายหน้าบริษัทเทป ที่ให้ส่วนแบ่งการออกอัลบั้มตามความพอใจ ทำให้พวกเขาต้องการนำเสนองานโดยมีลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง และ สมาชิกแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งในการผลิตเพลงที่เป็นธรรมที่สุด

พวกเขารวมตัวก่อตั้งวงตาวันขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยเริ่มจากการเล่นดนตรีกลางคืนที่โรงแรมเอเซีย และ ที่แห่งนี้ พวกเขาก็ได้เริ่มเขียนเพลงสำหรับอัลบั้มแรก

หลังจากพวกเขาออกอัลบั้มแรก หุ่นกระบอก ก็ได้ก่อตั้งบริษัท Orange Music Group เพื่อรับผลิตงานเพลงต่างๆ ทั้งเพลงประกอบโฆษณา ละคร และรับดูแลการผลิตอัลบั้มให้กับศิลปินต่างๆ เช่น ไอเฟล เฮฟวี่มด ธเนศ วรากุลนุเคราะ์ห์ชุดคนเขียนเพลงปรรเลงชีวิต แม้กระทั่ง "คาราบาว ในชุด ห้ามจอดควาย เป็นต้น

อัลบั้มสุดท้าย 'Promise' ถือเป็นการทำดนตรีในแนว Rock Opera ในลักษณะที่เรียกว่า Concept Album ครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทย ที่ทำเพลงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เนื้อร้องภาษาอังกฤษ แต่งโดย ทอดด์ ลาเวลล์ (ทอดด์ ทองดี) มีเนื้อหาเกี่ยวกับจินตนาการของคนไข้ในโรงพยาบาลจิตเวช มี 2 เพลงที่แปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย โดย มรุธา รัตนสัมพันธ์

สมาชิกประกอบด้วย
  • กิตติพันธ์ ปุณกะบุตร กีตาร์
  • ชัยวัฒน์ จุฬาพันธุ์ กีตาร์ ร้องนำ (เสียงรอง)
  • มรุธา รัตนสัมพันธ์กีตาร์เบส
  • พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คีย์บอร์ด (เครื่องดนตรี)" ร้องนำ (เสียงหลัก)
  • วงศกร รัศมิทัต กลอง ร้องนำ (เสียงรอง)

ผลงาน

มีผลงาน 4 อัลบั้ม ได้แก่

1.หุ่นกระบอก (พ.ศ. 2529)

  1. หุ่นกระบอก
  2. เสียงกระซิบจากสายฝน
  3. อัตตา
  4. ขอรักเธอข้างเดียว
  5. คน
  6. สมาคมว่างงาน
  7. สู่แสงแห่งตาวัน
  8. ถึงเธอผู้ห่างไกล
  9. รถจ๊ะเอ๋
  10. V-BOOM

2.ม็อบ (พ.ศ. 2535)

  1. ม๊อบ
  2. ใจหิน
  3. ร้องเพลงเถิด
  4. ดูดาว
  5. กาม
  6. หัวเดียวกระเทียมดอง
  7. คนจนตรอก
  8. โองการแช่งน้ำ
  9. มีเธอ
  10. ต่อคิว
  11. มอบไว้ให้โลกนี้
  12. ไม่ห่างใจเธอ

3. 12 ราศี (พ.ศ. 2536)

  1. รักเกินใจ
  2. ห่วงใย
  3. นักคิด
  4. Sweetness
  5. ซน
  6. หัวใจธนู
  7. ข่าว
  8. บริสุทธิ์
  9. สถิตยุติธรรม
  10. นางไม้
  11. การเริ่มต้น
  12. กลับบ้าน

4. The promise (พ.ศ. 2539)

  1. The PROmISE
  2. The life
  3. Voices
  4. Swan song
  5. Mind chain
  6. Roachelle
  7. The intruder
  8. Sunday special
  9. Love calling
  10. The battle
  11. Swan song (Thai version)
  12. Love calling (Thai version)
อัลบัมรวม AUTOGRAPHY พ.ศ. 2537



อื่นๆเกี่ยวกับ วง ตาวัน
  • วงตาวัน เคยเป็นวงดนตรีแบ็คอัพให้กับ คาราบาว ในอัลบั้ม ห้ามจอดควาย (พ.ศ. 2533)
  • หลังจากปิดวงไปด้วย อัลบั้ม The Promise พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตหัวหน้าวง ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวในนาม "พรหม" อัลบั้ม ชัมบาลา (Shambala) ในสังกัดมอร์มิวสิค
  • วงศกร รัศมิทัต ได้รับงานแสดงภาพยนตร์เป็นครั้งคราว เรื่องล่าสุด คือ แฟนฉัน และ หนีตามกาลิเลโอของค่ายจีทีเอช โดยรับบทเป็นพ่อของเจี๊ยบ(แสดงโดย ชาลี ไตรรัตน์) และพ่อของเชอรี่(แสดงโดย ชุติมา ทีปะนาถ) ตามลำดับ
  • กิตติพันธ์ ปุณกะบุตร นักกีตาร์ฝีมือดี หันไปจับงานเพลงร่วมสมัย โดยตั้งชื่อว่า แสนแสบ ฟิลฮาโมนิก ออเคสตร้า
  • วงตาวัน เป็นวงดนตรีวงแรกที่เปิดประเดิมรายการ 7สีคอนเสิร์ต